สรุป Oppday และ งบการเงิน หุ้น HENG ไตรมาส 2/2566
#สรุปงบการเงิน + Opportunity Day
#หุ้น Non-Bank ผันตัวมาทำจำนำทะเบียน เพิ่ม Yield ลดความเสี่ยงในอนาคต
————————————————————————–
· Interest Income 619.03 +41.7% แบ่งตามสินเชื่อดังนี้
– Hire Purchase 227.6 +3.9% แต่ -9.00% จากไตรมาสที่แล้วเกิดจากพอร์ตสินเชื่อลดลง และมีอัตราดอกเบี้ยรับประมาณ 15%
– Auto Title 353.6 +103.1% และเพิ่มขึ้น +28.6% จากไตรมาสที่แล้ว มีอัตราดอกเบี้ยรับประมาณ 20 -21%
– Other Loans 37.8 -13.2% และลดลง -0.3% มีอัตราดอกเบี้ยรับประมาณ 23%
· Cost to Income 53.08%
· PPOP 277.67 +35.15% อัตราส่วน 39.97%
– ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นจากสาเหตุการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและการกู้เงินเพิ่มขึ้นเพื่อมาปล่อยสินเชื่อ
– ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้วเนื่องจากไม่ได้เปิดสาขาเพิ่มขึ้นทำให้สัดส่วนค่าใช้จ่ายลดลงเมื่อเทียบกับรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
· ECL to Revenue 127.15 +62.68% สัดส่วน 18.31%
– เพิ่มขึ้นจากการตั้งสำรองตามการเปลี่ยนระดับชั้นของลูกหนี้ และมีการเพิ่มอัตราส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อรวมจากไตรมาสที่แล้ว
· Loss on Impairment 49.94 +223.83% สัดส่วน 7.19%
· Net Profit 80.53 -10.05% สัดส่วน 11.59%
· Asset Qualityของสินเชื่อรวม
– คุณภาพของสินเชื่อ Stage 1 ลดลงโดยการโตของStage 2 เพิ่มขึ้น +10.87% ผลมาจากคุณภาพของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เป็นหลักและ Stage 3 ที่เพิ่มขึ้น +16.4%
· % Coverage Ratio 133.61%
————————————————————————–
#Q&A จาก Opportunity Day
————————————————————————–
– NPL ของสินเช่าซื้อเนื่องจากกลยุทธ์บริษัทเปลี่ยนไปหลังจากที่ สคบ. กำหนดเพดานดอกเบี้ยที่ไม่เกิน 15% ซึ่งสมัยก่อนเคยได้อัตราดอกเบี้ยถึง 22% พอถูกควบคุมบริษัทจึงเน้นไปทางจำนำทะเบียน พอไม่มีการเติมของใหม่ ตัว NPLจะสูงขึ้นตามธรรมชาติ
– อนาคตยังไม่มีการขยายพอร์ตเช่าซื้อมากแต่จะปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อให้กับกลุ่มรถที่ไม่โดนกำหนดเพดานดอกเบี้ย
– บริษัทเชื่อว่าการขยายสาขาเป็นประโยชน์ต่อการปล่อยสินเชื่อในอนาคตเนื่องจาก บริษัทยังเล็กและมีสาขากระจุกตัวในภาคเหนือส่วนใหญ่
– บริษัทมีแผนที่ขยายสาขาเพิ่ม 22 สาขาในปีนี้และขยายสาขาในปีหน้าเพิ่ม 350 สาขา
– บริษัทยังไม่มีแผนการปล่อยสินเชื่อออนไลน์แต่ใช้ออนไลน์เพื่อการตลาด
– สินเชื่อประเภท Nano Finance บริษัทยังไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มระยะหนึ่ง NPL เลยยังไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวม
– บริษัทได้รับ Rating หุ้นกู้ BBB และบริษัทมีแผนที่จะออกหุ้นกู้
– บริษัทมีแผนจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่จะเป็นรูปแบบ Nano Finance ให้เกษตรกรและจะมีแผนร่วมทุนภายในไตรมาส 4 ปีนี้
– การไปเน้นจำนำทะเบียนไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์กับเต้นท์รถ โดยมีลูกค้าบางส่วนได้มาจากคำแนะนำจากเต้นท์รถ
————————————————————————–
สรุป
————————————————————————-
· ภาพของบริษัทเริ่มเปลี่ยนจากที่เข้าตลาดมาใหม่ๆ บริษัทได้มีพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อถึง 60% เมื่อเข้าตลาด และ มากกว่า 70% ก่อนเข้าตลาด ปัจจุบันนี้ทิศทางของพอร์ตสินเชื่อขยายไปจำนำทะเบียนรถที่มากกว่า 50% และจะมีทิศทางที่มากขึ้นเรื่อยๆจากการที่บริษัทแจ้งว่าไม่ขยายสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่มีการกำหนดเพดานดอกเบี้ยแล้ว
· การปรับสัดส่วนของผลิตภัณฑ์สินเชื่อไปขยายจำนำทะเบียน ทำให้อัตราดอกเบี้ยรับเฉลี่ยบริษัทมีทิศทางที่สูงขึ้น รวมไปถึงความเสี่ยงต่างๆเรื่อง NPL มีทิศทางที่ดีขึ้น อาจจะทำให้เห็นกำไรมีการเร่งตัวได้ในอนาคต
————————————————————————–
“การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนลงทุน”
.
.
สรุปโดย ลงทุนกล้วยๆ