Forum

Notifications
Clear all

สอบถามเกี่ยวกับ Case Study การวิเคราะห์ 5-Forces model ครับ


(@woonwow)
Eminent Member
Joined: 1 year ago
Posts: 15
Topic starter  

ธุรกิจผลิตรถยนต์ เช่น toyota
q1. เป็นประเภทธุรกิจ manufacture or trading ? ครับ
q2. B2B2C ใช่ ? เพราะขายผ่าน dealer แต่มี 2 กรณีอีกครับ คือ รับรู้รายได้เมื่อส่งรถให้ dealers เลย (dealer เป็นลูกค้า) กับ รับรู้รายได้เมื่อ Dealers ส่งข้อมูลกลับมาว่าขายรถได้แล้ว เลยแอบงงว่าต้องเลือก b2c or b2b2c ? ครับ
q3. Customer's switching costs ถือว่า medium ? ครับ เพราะ หากซื้อรถใหม่ก็ไม่จำเป็นต้องยี่ห้อเดิม ผมเองก็ซื้อหลายยี่ห้อ แต่ถ้าเหมือนกันยืนยันยี่ห้อเดิม เพราะ ชินกว่า ศูนย์เดิม เป็นต้น
q4. Supplier's switching costs ถือว่า medium ? ครับ เพราะ ก็เปลี่ยนได้ แต่ก็ต้องเสียเวลาหาใหม่ที่ให้ผ่านมาตรฐานของบริษัท
q5. เวลาวิเคราะห์ตลาด (ใน 5-forces model) ควรคาดการณ์ไป 3 ปีข้างหน้า แทนแค่ 1 ปีหรือไม่ เพราะ ยิ่ง megatrend ขนาดตลาดจะต่างมาก เช่น ตลาดรถ EV, ตลาด Clouding เป็นต้น

This topic was modified 1 year ago by ANTadmin

   
Quote
Topic Tags
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1481
 
Posted by: @woonwow

ธุรกิจผลิตรถยนต์ เช่น toyota
q1. เป็นประเภทธุรกิจ manufacture or trading ? ครับ
q2. B2B2C ใช่ ? เพราะขายผ่าน dealer แต่มี 2 กรณีอีกครับ คือ รับรู้รายได้เมื่อส่งรถให้ dealers เลย (dealer เป็นลูกค้า) กับ รับรู้รายได้เมื่อ Dealers ส่งข้อมูลกลับมาว่าขายรถได้แล้ว เลยแอบงงว่าต้องเลือก b2c or b2b2c ? ครับ
q3. Customer's switching costs ถือว่า medium ? ครับ เพราะ หากซื้อรถใหม่ก็ไม่จำเป็นต้องยี่ห้อเดิม ผมเองก็ซื้อหลายยี่ห้อ แต่ถ้าเหมือนกันยืนยันยี่ห้อเดิม เพราะ ชินกว่า ศูนย์เดิม เป็นต้น
q4. Supplier's switching costs ถือว่า medium ? ครับ เพราะ ก็เปลี่ยนได้ แต่ก็ต้องเสียเวลาหาใหม่ที่ให้ผ่านมาตรฐานของบริษัท
q5. เวลาวิเคราะห์ตลาด (ใน 5-forces model) ควรคาดการณ์ไป 3 ปีข้างหน้า แทนแค่ 1 ปีหรือไม่ เพราะ ยิ่ง megatrend ขนาดตลาดจะต่างมาก เช่น ตลาดรถ EV, ตลาด Clouding เป็นต้น

1. ผมมองเป็น trading ครับ ถ้ามองในดีเทล ปัจจุบันบริษัทผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ ก็จ้างผลิตแทบทุกชิ้นส่วน แล้วมีโรงงานประกอบเองเท่านั้น

2. ใช่ครับ

3. เห็นด้วยครับ ด้วยความที่รถยนต์เองก็มีอายุการใช้งาน 5-7 ปีก่อนจะซื้อใหม่

4. เห็นด้วยครับ

5. ถูกต้องเลยครับ ปกติเราควรคาดการณ์อนาคต 3-5 ปีครับ แต่ส่วนใหญ่ในทางปฏิบัติก็ 3 ปีครับ เพราะมีข้อมูลให้เราพอสมควรครับ


   
ReplyQuote
(@woonwow)
Eminent Member
Joined: 1 year ago
Posts: 15
Topic starter  

เรียนถาม 5-forces ของ บมจ. mc ครับ

1. ขอคำแนะนำแหล่งข้อมูล เพื่อหาขนาด market size of apparel in Thailand ลอง google จะไม่มีเลยครับ (ยอมรับว่าข้อมูลตลาดของธุรกิจ ผมติดมาโดยตลอดเลยครับ) 
2. ความสมบูรณ์สินค้าทดแทน ในธุรกิจ apparel คือ low ? ครับ ยังไม่เห็นสินค้าใดมาทดแทนเสื้อผ้าเลยครับ และ mc ก็ขายทั้งเสื้อผ้าทั่วไป ชุดทำงาน แต่อาจไม่ได้เน้นมาก
3. มูลค่าการลงทุน คือ medium ? ครับ เพราะ มีการลงทุนเปิด shop และซื้อ inventory แต่ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งโรงงาน ใช้วิธี OEM 


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1481
 

Posted by: @woonwow

เรียนถาม 5-forces ของ บมจ. mc ครับ

1. ขอคำแนะนำแหล่งข้อมูล เพื่อหาขนาด market size of apparel in Thailand ลอง google จะไม่มีเลยครับ (ยอมรับว่าข้อมูลตลาดของธุรกิจ ผมติดมาโดยตลอดเลยครับ) 
2. ความสมบูรณ์สินค้าทดแทน ในธุรกิจ apparel คือ low ? ครับ ยังไม่เห็นสินค้าใดมาทดแทนเสื้อผ้าเลยครับ และ mc ก็ขายทั้งเสื้อผ้าทั่วไป ชุดทำงาน แต่อาจไม่ได้เน้นมาก
3. มูลค่าการลงทุน คือ medium ? ครับ เพราะ มีการลงทุนเปิด shop และซื้อ inventory แต่ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งโรงงาน ใช้วิธี OEM 

1. ส่วนมาก market size วิธีที่ดีที่สุดคือหาจากบริษัทใกล้เคียงกันในอุตสาหกรรมที่อยู่ในตลาดหุ้นเหมือนกันครับ หรือไม่ก็ถามบริษัทโดยตรงเลยครับ ผมก็สอบถาม IR บ่อยๆครับ

2. ผมคิดว่าการมองตลาด apparel ทั้งหมดอาจกว้างไปอ่ะครับ คล้ายๆกับเราจะหาสินค้าทดแทนของ "เครื่องดื่ม" ซึ่งมันคงไม่มี แต่เราควร Specific ลงไป เช่น "เครื่องดื่มชูกำลัง" เป็นสินค้าทดแทนของ "กาแฟ" แบบนี้เป็นต้น ทีนี้ Mc เองอาจจะขาย "ยีนส์" เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น สินค้าทดแทนก็น่าจะพิจารณาที่ "กลุ่มลูกค้า" หลักของบริษัทครับ ว่าเค้าจะมี "ทางเลือก" ไปใช้เสื้อผ้าแนวไหนแทน

3. การวิเคราะห์แต่ละหัวข้อของแรง 5-force เราต้องคำนึงถึง "ใจความสำคัญ" ของแต่ละแรงเป็นหลักเลยครับคุณวุ้น เรื่องมูลค่าการลงทุนนั้นเป็นหัวข้อการพิจารณา "แรงกดดันจากคู่แข่งรายใหม่" นั่นแปลว่า เราต้องพิจารณาหัวข้อนี้ว่า คู่แข่งรายใหม่นั้น จะต้องใช้เงินลงทุน หรือทรัพยากร มากแค่ไหนในการ "เข้ามาในธุรกิจนี้ครับ" ทีนี้ เราก็ต้องพิจารณาครับ ว่าธุรกิจนี้นั้น "หัวใจ" ของการทำธุรกิจนี้คืออะไร ยกตัวอย่างนะครับ ธุรกิจ "ร้านสะดวกซื้อ" หัวใจไม่ได้อยู่ที่ "สาขา" แต่เป็น "ศูนย์กระจายสินค้า และระบบขนส่งสินค้าของสด" ดังนั้นทรัพยากรการลงทุนจึงสูงมากๆหลายหมื่นล้านทั่วประเทศ เป็นต้น จึงเป็นเหตุผลที่แม้แต่ OR ที่มีสาขาทั่วประเทศมากกว่า 2000 สาขาก็ยังต้องล้มเลิกความคิดที่จะทำแบรนด์ตัวเองไป เป็นต้นครับ

กลับมาที่ MC คุณวุ้นลองพิจารณาดูว่าการที่จะมีคู่แข่งเข้ามาในธุรกิจนี้ เพื่อขาย "ยีนส์" นั้นต้องใช้เงินลงทุนมากแค่ไหนครับ ลองพิจารณาดูนะครับ ผมแสดงความเห็นผมไว้ด้านล่างครับ

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

ผมคิดว่าในกลุ่ม Apparel, Food นั้น คล้ายกันคือ ใช้เงินลงทุน "น้อย" มากในการจะเข้ามาในธุรกิจครับ ดังนั้นจึงมีโอกาสเกิด "คู่แข่ง" ที่สำคัญๆบ่อยๆครับ ยกตัวอย่างเช่น "สุกี้ตี๋น้อย" ที่ก็สามารถเข้ามาในธุรกิจได้ง่าย และเร็ว และแน่นอนว่าคงจะมีร้านอาหารใหม่ๆมาอีกในอนาคตอีกมากมาย เป็นต้น เช่นเดียวกันกับธุรกิจเสื้อผ้า ที่ผมก็คิดว่ามีคู่แข่งเกิดขึ้นทุกวัน เพียงแค่ว่าจะมีรายไหนสามารถ scale up ขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับ mc อย่างเต็มตัวได้บ้าง เพราะสุดท้าย หัวใจการวิเคราะห์หัวข้อนี้คือ หากคู่แข่งรายใหม่เข้ามาง่าย มันก็ย่อม "มีโอกาส" เกิดคู่แข่งรายสำคัญได้ตลอดเวลานั่นเองครับ ดังนั้น มันจึงเป็นความเสี่ยง ของธุรกิจอย่างหนึ่ง

 


   
ReplyQuote
(@woonwow)
Eminent Member
Joined: 1 year ago
Posts: 15
Topic starter  

ช่วงนี้ พยายามลองนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับหลายอุตสาหกรรมครับ อาจมีถามคุณประภาสข้ามอุตสาหกรรมนะครับ รอบนนี้พลังงานทดแทนครับ

บมจ.Gunkul
1. แรงจาก Customer ด้าน switching cost เป็น High or Low ? ครับ 
      option1 High เพราะ ถ้าประมูลจนได้ PPA (ใบอนุญาตขายไฟ) มาแล้ว ส่วนมากสร้างเสร็จก็ขายไฟรัฐได้ + EPC ถ้าได้งานแล้ว โอกาสลูกค้าเปลี่ยนจะยาก
      option 2 Low เพราะ ต้องมองเป็นการกลับมาซื้อรึเปล่าครับ เพราะ ถ้ากลับมาซื้อจะ low ทันที เพราะ ทั้งรัฐและลูกค้าจ้าง EPC ส่วนมากก็ใช้ระบบประมูล 

2. แรงจาก Substitute ด้าน ความสมบูรณ์การทดแทน เพราะ พลังงานจาก fossil ยังไงก็ยังต้นทุนถูกกว่า แต่ปัญหาคือมลพิษ เลยไม่แน่ใจว่า ควร High or Medium ครับ?

3. แรงจาก Substitute ด้าน technology disruption ข้อนี้ระบุ medium ไว้ก่อน เพราะ energy tech มีเยอะมาก อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่แน่ใจว่าควรมองมุมใดเพิ่ม ? ครับ

This post was modified 1 year ago by WoonWoW Chaiwut Batch#29

   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1481
 

Posted by: @woonwow

ช่วงนี้ พยายามลองนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับหลายอุตสาหกรรมครับ อาจมีถามคุณประภาสข้ามอุตสาหกรรมนะครับ รอบนนี้พลังงานทดแทนครับ

บมจ.Gunkul
1. แรงจาก Customer ด้าน switching cost เป็น High or Low ? ครับ 
      option1 High เพราะ ถ้าประมูลจนได้ PPA (ใบอนุญาตขายไฟ) มาแล้ว ส่วนมากสร้างเสร็จก็ขายไฟรัฐได้ + EPC ถ้าได้งานแล้ว โอกาสลูกค้าเปลี่ยนจะยาก
      option 2 Low เพราะ ต้องมองเป็นการกลับมาซื้อรึเปล่าครับ เพราะ ถ้ากลับมาซื้อจะ low ทันที เพราะ ทั้งรัฐและลูกค้าจ้าง EPC ส่วนมากก็ใช้ระบบประมูล 

2. แรงจาก Substitute ด้าน ความสมบูรณ์การทดแทน เพราะ พลังงานจาก fossil ยังไงก็ยังต้นทุนถูกกว่า แต่ปัญหาคือมลพิษ เลยไม่แน่ใจว่า ควร High or Medium ครับ?

3. แรงจาก Substitute ด้าน technology disruption ข้อนี้ระบุ medium ไว้ก่อน เพราะ energy tech มีเยอะมาก อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่แน่ใจว่าควรมองมุมใดเพิ่ม ? ครับ

เป็นธุรกิจที่ปกติผมไม่ค่อยศึกษามากนัก และไม่ค่อยได้ลงทุนนะครับ จะพยายามให้ความเห็นเท่าที่ผมมั่นใจนะครับ 🙂

1. ผมคิดว่า High ครับ เพราะลูกค้าหลักเป็นรัฐ หากรัฐมีนโยบายเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ต้องยอมรับ นั่นแปลว่า "อำนาจต่อรองของบริษัทต่ำ" นั่นเองครับ

2. ข้อนี้ความสมบูรณ์ผมมองว่า "สูง" นะครับ เพราะจ่ายไฟได้เหมือนกันเลย ราคาถูกกว่าด้วย ในระยะยาวผมก็ยังเชื่อว่า fossil ยังอยู่ สิ่งที่ผมไม่มั่นใจคือ renewable มากกว่าด้วยซ้ำ เพราะรัฐต้องเสียเงินอุดหนุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จะไหวแค่ไหนในระยะยาว เพราะพอหมด "ช่วงโปรโมชั่น" ที่ภาครัฐ subsidized ธุรกิจนี้ก็แทบจะไม่ทำกำไรเลยครับ และนับวันภาครัฐก็ยังยิ่งต้องอุดหนุนหนักขึ้นๆ เนื่องจากสัดส่วน renewable energy ยังเป็นสัดส่วนน้อยอยู่มาก เลยรู้สึก doubt ครับว่ามันจะยั่งยืนจริงๆเหรอ พอจะไม่ subsidize ก็ไม่มีใครอยากทำถ้าไม่จำเป็น

3. ข้อนี้ยากสำหรับผมเหมือนกันครับ เพราะผมเองก็ไม่ค่อยได้ติดตามอุตสาหกรรมนี้มากนักครับ ><"

 

 


   
ReplyQuote
(@woonwow)
Eminent Member
Joined: 1 year ago
Posts: 15
Topic starter  

ไม่แน่ใจว่าทางคุณประภาส วิเคราะห์หุ้น tech ที่ขนาดยังเล็ก ด้วย 5-forces แล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ ผมลองวิเคราะห์ tbn แล้วแอบเสี่ยงเยอะ จะลดความเสี่ยงก็ต่อเมื่อขนาดบริษัทและจำนวนลูกค้าต้องมากๆ พร้อมทั้งไม่พึ่งพิงแค่ mendix ไม่งั้นเสี่ยงจริง รบกวนให้ความเห็นว่าผมประเมิน criteria ผิดไปมั้ยครับ


   
ReplyQuote
(@woonwow)
Eminent Member
Joined: 1 year ago
Posts: 15
Topic starter  

ผมลองวิเคราะห์ SAV ครับ แต่มีความไม่แน่ใจใน cell ที่ hilight สีส้ม ครับ ว่าควรเลือกว่าอย่างไร อยากขอความเห็นครับ


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1481
 

Posted by: @woonwow

ไม่แน่ใจว่าทางคุณประภาส วิเคราะห์หุ้น tech ที่ขนาดยังเล็ก ด้วย 5-forces แล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ ผมลองวิเคราะห์ tbn แล้วแอบเสี่ยงเยอะ จะลดความเสี่ยงก็ต่อเมื่อขนาดบริษัทและจำนวนลูกค้าต้องมากๆ พร้อมทั้งไม่พึ่งพิงแค่ mendix ไม่งั้นเสี่ยงจริง รบกวนให้ความเห็นว่าผมประเมิน criteria ผิดไปมั้ยครับ

เห็นด้วยเลยครับวุ้น โดยธรรมชาติธุรกิจ B2B นั้นมีความเสี่ยงมหาศาลเลยครับ ทั้งฝั่งลูกค้า, vendor, นี่ยังไม่นับค่าแรงที่เป็น bubble อยู่อีกนะครับ

ส่วนตัวผมเองก็มองว่า tbn จะเป็นการลงทุนในระยะสั้น-กลางเท่านั้น ด้วยปัจจัยหลักคือการเติบโตครับ

 


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1481
 

Posted by: @woonwow

ผมลองวิเคราะห์ SAV ครับ แต่มีความไม่แน่ใจใน cell ที่ hilight สีส้ม ครับ ว่าควรเลือกว่าอย่างไร อยากขอความเห็นครับ

ผมแก้ไขตามความเห็นผม และไฮไลท์สีเขียวไว้นะครับ ส่วนช่องสีส้มขนาดตลาดอันนี้ผมยังไม่ได้คำนวณนะครับ แต่ก็น่าจะประมาณนั้นอยู่ครับ

ผมว่า sav เทียบได้น้องๆ AOT เลยครับ ดังนั้นควรมี P/E ที่สูงมากอยู่ครับ

แต่ความเสี่ยงจะเป็นการสูญเสียสัมปทานไป ซึ่งเรื่องนี้ตลาดจะมีความกังวลนะครับ 

สุดท้ายอาจต้องประเมินด้วยวิธี DCF คำนวณกระแสเงินสดเป็นหลัก ดังนั้นราคาหุ้นจะลดลงเรื่อยๆเมื่อใกล้หมดสัญญาสัปทานครับ

 

This post was modified 10 months ago by Prapas Boonchuen

   
ReplyQuote
Share:
Protected by CleanTalk Anti-Spam