Forum

Notifications
Clear all

IIG กับหลายข้อสงสัย


(@mr-lc-ucp)
Trusted Member
Joined: 1 year ago
Posts: 41
Topic starter  

สวัสดีครับอาจารย์

 

รบกวนขอคำแนะนำเกี่ยวกับ IIG เยอะหน่อยนะครับ

1) ในงบ IIG ไม่มีระบุเรื่อง Inventory แบบนี้เรามีวิธีคิด Quick Ratio อย่างไรครับ

2) ค่าความนิยม ในหมายเหตุประกอบงบระบุว่าปันส่วนให้ ERP ของ Oracle กับ ส่วนงานให้คำปรึกษาและบริการด้านกลยุทธ์ดิจิทัล…. แต่ทำไม Salesforce ถึงไม่ได้ปันส่วนค่าความนิยมด้วยครับ.

3) ผมเข้าใจถูกไหมครับ แม้ค่าความนิยมจะทำให้สินทรัพย์ของกิจการสูงขึ้น แต่มูลค่าของกิจการก็ขึ้นอยู่กับกำไรอยู่ดี

4) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน : ในหมายเหตุประกอบงบ ที่ระบุว่า

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กลุ่มกิจการพัฒนาขึ้นเอง - โปรแกรมคอมพิวเตอร์

รายจ่ายที่เกิดจากโครงการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะรับรู้เป็นสินทรัพย์ เมื่อกลุ่มกิจการแสดงให้เห็นว่าเป็นไปตามข้อกำหนดทุกข้อดังนี้

  • เมื่อกลุ่มกิจการสามารถวัดมูลค่าของรายจ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างน่าเชื่อถือ และมีความเป็นไปได้ทั้งทางด้านเทคนิค ด้านการเงิน ด้านการค้า และด้านทรัพยากร และ
  • เมื่อกลุ่มกิจการมีความสามารถและความตั้งใจที่จะพัฒนาให้เสร็จสิ้นและนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมาใช้งานหรือขาย

ต้นทุนการพัฒนาที่ได้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายไปแล้วในงวดก่อนจะไม่บันทึกเป็นสินทรัพย์ในงวดถัดไป

การทยอยตัดจำหน่ายรายจ่ายที่เกิดจากการพัฒนาที่กิจการบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์จะเริ่มเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมใช้งานด้วยวิธีเส้นตรงตลอดระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนานั้นแต่สูงสุดไม่เกิน 10 ปี

หมายความว่าถ้าตัดสินใจบันทึกเป็นต้นทุนแล้ว จะเปลี่ยนมาบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่ได้แล้ว ใช่ไหมครับ

 

5) เอกสาร Opp Day เห็นรูปสำนักงาน 4 แห่ง แต่ในงบไม่มีระบุ “ที่ดิน อาคาร” มีแต่อุปกรณ์

แปลว่า สำนักงานทั้งหมดเป็นการเช่าทั้งหมด ถูกไหมครับ

6) เอกสาร Opp Day ระบุ ประเภทรายได้ไว้ คือ

Revenue by Business Unit แสดงเป็น Other income, Outsourcing, ERP, CRM/CEM/Data.

Revenue by Quarter แสดงเป็น Subscription & MA, AMS, Outsource Service, Implementation, License & Hardware.

Revenue Proportion by Business แสดงเป็น ERP, CRM, Outsourcing, CEM, iiG Data.

Revenue Proportion by Revenue Type แสดงเป็น Salesforce & Oracle Software Subscription, License Oracle, MA&AMS, Outsourcing, Implementation.

แต่ในงบการเงินระบุไว้เพียง 4 ประเภท คือ

  1. รายได้จากการให้ใช้ใบอนุญาตการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  2. รายได้จากการให้บริการ
  3. รายได้จากการขายสิทธิในการใช้ใบอนุญาตการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
  4. รายได้อื่น

ผมเข้าใจถูกไหมครับว่า

  1. รายได้จากการให้ใช้ใบอนุญาตการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ = Subscription
  2. รายได้จากการให้บริการ = Implementation

แต่ที่เหลือ Match ไม่ถูกแล้วครับ รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ.

7) จากงบ Q4/65 จำนวนลูกค้าหนี้5 (50.6%) + หนี้สินทั้งหมด 537.9 (47.2%) = 1,114.4 (97.8%) ของสินทรัพย์รวม (1,139.9)
สัดส่วนแบบนี้ ถือว่าลูกหนี้ และ หนี้สินเยอะไปไหมครับ

8) สังเกตเห็น % Cost to Sale สูงขึ้นทุก Quarter, และ % GPM & % NPM ลดลงทุก
ประกอบกับ เรื่องสัดส่วนลูกหนี้ และ หนี้สิน ที่สูง … ส่วนตัว ผมคิดว่าเป็นหุ้นที่ค่อนข้างเสี่ยง (แต่ธุรกิจก็น่าสนใจอยู่)
จึงอยากขอคำชี้แนะจากอาจารย์ ช่วยให้มุมมองเพิ่มเติมหน่อยนะครับ (เกรงว่าอาจเป็นหุ้นที่ดี แต่ด้วยประสบการณ์ที่มีไม่มากพอ จะทำให้มองไม่ออก แล้วพลาดโอกาสไปครับ)

 

ขอบคุณครับ


   
Quote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1484
 

Posted by: @mr-lc-ucp

สวัสดีครับอาจารย์

 

รบกวนขอคำแนะนำเกี่ยวกับ IIG เยอะหน่อยนะครับ

1) ในงบ IIG ไม่มีระบุเรื่อง Inventory แบบนี้เรามีวิธีคิด Quick Ratio อย่างไรครับ

2) ค่าความนิยม ในหมายเหตุประกอบงบระบุว่าปันส่วนให้ ERP ของ Oracle กับ ส่วนงานให้คำปรึกษาและบริการด้านกลยุทธ์ดิจิทัล…. แต่ทำไม Salesforce ถึงไม่ได้ปันส่วนค่าความนิยมด้วยครับ.

3) ผมเข้าใจถูกไหมครับ แม้ค่าความนิยมจะทำให้สินทรัพย์ของกิจการสูงขึ้น แต่มูลค่าของกิจการก็ขึ้นอยู่กับกำไรอยู่ดี

4) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน : ในหมายเหตุประกอบงบ ที่ระบุว่า

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กลุ่มกิจการพัฒนาขึ้นเอง - โปรแกรมคอมพิวเตอร์

รายจ่ายที่เกิดจากโครงการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะรับรู้เป็นสินทรัพย์ เมื่อกลุ่มกิจการแสดงให้เห็นว่าเป็นไปตามข้อกำหนดทุกข้อดังนี้

  • เมื่อกลุ่มกิจการสามารถวัดมูลค่าของรายจ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างน่าเชื่อถือ และมีความเป็นไปได้ทั้งทางด้านเทคนิค ด้านการเงิน ด้านการค้า และด้านทรัพยากร และ
  • เมื่อกลุ่มกิจการมีความสามารถและความตั้งใจที่จะพัฒนาให้เสร็จสิ้นและนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นมาใช้งานหรือขาย

ต้นทุนการพัฒนาที่ได้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายไปแล้วในงวดก่อนจะไม่บันทึกเป็นสินทรัพย์ในงวดถัดไป

การทยอยตัดจำหน่ายรายจ่ายที่เกิดจากการพัฒนาที่กิจการบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์จะเริ่มเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมใช้งานด้วยวิธีเส้นตรงตลอดระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนานั้นแต่สูงสุดไม่เกิน 10 ปี

หมายความว่าถ้าตัดสินใจบันทึกเป็นต้นทุนแล้ว จะเปลี่ยนมาบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่ได้แล้ว ใช่ไหมครับ

 

5) เอกสาร Opp Day เห็นรูปสำนักงาน 4 แห่ง แต่ในงบไม่มีระบุ “ที่ดิน อาคาร” มีแต่อุปกรณ์

แปลว่า สำนักงานทั้งหมดเป็นการเช่าทั้งหมด ถูกไหมครับ

6) เอกสาร Opp Day ระบุ ประเภทรายได้ไว้ คือ

Revenue by Business Unit แสดงเป็น Other income, Outsourcing, ERP, CRM/CEM/Data.

Revenue by Quarter แสดงเป็น Subscription & MA, AMS, Outsource Service, Implementation, License & Hardware.

Revenue Proportion by Business แสดงเป็น ERP, CRM, Outsourcing, CEM, iiG Data.

Revenue Proportion by Revenue Type แสดงเป็น Salesforce & Oracle Software Subscription, License Oracle, MA&AMS, Outsourcing, Implementation.

แต่ในงบการเงินระบุไว้เพียง 4 ประเภท คือ

  1. รายได้จากการให้ใช้ใบอนุญาตการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  2. รายได้จากการให้บริการ
  3. รายได้จากการขายสิทธิในการใช้ใบอนุญาตการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
  4. รายได้อื่น

ผมเข้าใจถูกไหมครับว่า

  1. รายได้จากการให้ใช้ใบอนุญาตการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ = Subscription
  2. รายได้จากการให้บริการ = Implementation

แต่ที่เหลือ Match ไม่ถูกแล้วครับ รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ.

7) จากงบ Q4/65 จำนวนลูกค้าหนี้5 (50.6%) + หนี้สินทั้งหมด 537.9 (47.2%) = 1,114.4 (97.8%) ของสินทรัพย์รวม (1,139.9)
สัดส่วนแบบนี้ ถือว่าลูกหนี้ และ หนี้สินเยอะไปไหมครับ

8) สังเกตเห็น % Cost to Sale สูงขึ้นทุก Quarter, และ % GPM & % NPM ลดลงทุก
ประกอบกับ เรื่องสัดส่วนลูกหนี้ และ หนี้สิน ที่สูง … ส่วนตัว ผมคิดว่าเป็นหุ้นที่ค่อนข้างเสี่ยง (แต่ธุรกิจก็น่าสนใจอยู่)
จึงอยากขอคำชี้แนะจากอาจารย์ ช่วยให้มุมมองเพิ่มเติมหน่อยนะครับ (เกรงว่าอาจเป็นหุ้นที่ดี แต่ด้วยประสบการณ์ที่มีไม่มากพอ จะทำให้มองไม่ออก แล้วพลาดโอกาสไปครับ)

 

ขอบคุณครับ

1. ธุรกิจบริการไม่มี Inventory อยู่แล้วครับ quick ratio เลยจะเท่ากับ current ratio อ่ะครับ

2. ไม่ทราบเลยครับ ลองถาม ir ดูนะครับ 😉 แต่ผมเองก็แอบสงสัยนะว่าถ้าเรารู้แล้วยังไงต่ออ่ะอู๋ 555+ คือรู้แล้วเราจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นยังไง ลองตอบผมหน่อยนะครับ 😉

3. แน่นอนครับ

4. ใช่ครับ ถ้าบันทึกเป็นต้นทุนมันจะถูกนำไปเป็น "รายจ่าย" ไปแล้ว ซึ่งจะทำให้กำไรลดในอดีตไปแล้ว คงไม่มีประโยชน์ที่เค้าจะนำรายจ่ายในอดีตกลับมาบันทึกเป็นสินทรัพย์อีกถูกไหมครับ

5. น่าจะใช่ครับ

6. ผมก็อ้างอิงข้อมูลตาม md&a, Oppday นะครับ

7. อันนี้ผมงงอ่ะครับว่าเราจะเอาลูกหนี้ กับ หนี้สินมารวมกันทำไมเหรอ ธรรมชาติธุรกิจบริการก็น่าจะเป็นแบบนี้อยู่แล้วรึเปล่าครับ จริงๆแล้ว ลูกหนี้การค้า กับ เจ้าหนี้การค้า มันก็ต้องหักล้างกันเองอยู่แล้ว

8. ผมคิดว่าเราเห็นผิดสังเกตอันนี้ดีแน่นอนครับ แต่สิ่งที่เราต้องทำก็คือ find out กับผบห. ใน oppday แล้วเราค่อยวิเคราะห์ครับอู๋ ว่ารับได้หรือรับไม่ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาชั่วคราวหรือถาวรครับ

 

ภาพรวมของคำถามผมมีคอมเม้นท์นิดนึงนะ จริงอยู่ที่ผมเคยบอกอู๋ไปว่ารู้ละเอียดย่อมดีกว่ารู้หยาบแน่นอน ข้อนี้ก็ยังยืนยันแบบเดิมนะครับ ไม่เปลี่ยน

แต่จากคำถามในคราวนี้ ส่วนตัวผมรู้สึกว่าข้อมูล และคำถามที่เกิดขึ้นนี้มันดูเหมือนจะหลุด "โฟกัส" ของการลงทุนไปรึเปล่าครับ

ผมคิดว่าการที่เราจะประสบความสำเร็จในงานได้ ไม่ว่างานอะไรก็แล้วแต่ หัวใจสำคัญคือการ "โฟกัส" มองหา "จุดตาย" "จุดสำคัญ" ของเนื้องาน

สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจแบบสำคัญยิ่งยวดอะไรประมาณนี้ 

ในคำถาม 8 ข้อวันนี้ส่วนตัวผมรู้สึกว่า บางอย่างอาจจะเป็นคำถามที่ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องรู้ในการลงทุนเลย บางอย่างก็ไม่ได้จำเป็นมากนัก บางอย่างก็เหมือนจะตีความไม่ถูกต้อง

แต่ผมว่ามันก็พูดยากนะ จะบอกว่าผิดทั้งหมดมันก็พูดไม่ได้ มันก็อาจจะเป็นแนวทางของอู๋เองก็ได้นะครับ แต่มันอาจเป็นแนวทางที่ผมเองก็ไม่คุ้นเคยเหมือนกัน ผมเลยอาจจะให้คำตอบกับอู๋ไม่ค่อยได้เท่าไหร่ ผมคิดว่าเราแค่มีมุมมองคนละมุมกัน ยกตัวอย่างง่ายๆนะ เหมือนผมเป็นลิง แล้วอู๋เป็นปลาอ่ะ ผมถนัดปีนต้นไม้แบบนี้ อู๋อาจจะถนัดว่ายน้ำมากกว่าก็ได้ 

ทีนี้ พอถึงเวลาที่ผมจะต้องให้คำแนะนำกับอู๋ ผมก็บอกตรงๆว่าผมเองก็สับสนเหมือนกันนะ 555+ คือ จะบอกว่ามันไม่ถูกก็ไม่กล้าจะบอกแบบนั้น เพราะมันอาจเป็นวิธีลงทุนของอู๋เองก็ได้ และถูกเหมือนกันก็ได้นะครับ

สุดท้ายผมเลยคิดว่า หากผมไม่สามารถตอบคำถามอู๋ได้มากนัก (แต่ผมยินดีตอบคำถามของอู๋เสมอนะครับ ถามมาได้เลย 🙂 ) ผมคิดว่าอู๋อาจจะต้องประสบความสำเร็จด้วยวิธีการของตัวเอง

โดยผมจะแนะนำอู๋แบบนี้ครับ

 

"จงเชื่อมั่นในวิธีการของตัวเอง ลงทุนในสิ่งที่ตัวอู๋เองมั่นใจ 100% หรือใกล้เคียงเท่านั้น แล้วใจเย็นรอดูผลลัพธ์ของมัน เรียนถูกเรียนผิดไป

แต่ยังไงซะเราต้องมีความสุขบนวิธีการที่เป็นของเราเองครับ แล้ววันนึงอู๋อาจจะประสบความสำเร็จในรูปแบบที่มันแตกต่างจากผมไปก็ได้

เหมือนคนที่ประสบความสำเร็จในโลกนี้ที่มีหลากหลายรูปแบบมากๆ เป็นต้น

หากอู๋กังวลกับเงินที่จะใส่ลงไป ก็แนะนำให้ลองลงทุนกับสิ่งที่อู๋สบายใจที่สุดก่อน หรืออาจจะแบ่งมาลงทุนทีละน้อยเท่าที่เราสบายใจก็เป็นวิธีที่ดีครับ"

 


   
ReplyQuote
(@mr-lc-ucp)
Trusted Member
Joined: 1 year ago
Posts: 41
Topic starter  

@prapas-b88

ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ ที่ช่วยตอบคำถามต่อข้อสงสัยหลายข้อของผม 🙂 /\

 

เรื่องการปันส่วนค่าความนิยม คือ ผมคิดว่าทั้ง Oracle และ Salesforce ต่างก็เป็นซอฟท์แวร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้วยกันทั้งคู่ และเป็นเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้ของบริษัท

การที่บริษัทสามารถบันทึกค่าความนิยมซอฟท์แวร์ใดเป็นสินทรัพย์ของบริษัทได้ กับ ไม่สามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ได้ น่าจะมีเหตุผลอยู่
ซึ่งเหตุผลนั้นอาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างมีนัยยะได้ในอนาคต เช่น โอกาสที่จะสูญเสียการทำธุรกิจในซอฟท์แวร์ที่ไม่สามารถบันทึกค่าความนิยมเป็นสินทรัพย์ได้
หรือผลประโยชน์ที่จะได้รับลดน้อยถอยลงไป

ผมกำลังประเมิน เรื่องความเสี่ยงในการทำธุรกิจอยู่ครับ.

 

เรื่องการรวมสัดส่วนลูกหนี้ กับหนี้สิน ข้อนี้ยอมรับตามตรงครับว่า จำนวนบริษัทที่ผมศึกษาอยู่ยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นค้าปลีก ไม่ใช่ธุรกิจบริการ ผมจึงยังไม่เข้าใจธรรมชาติของธุรกิจนี้ และไม่มีประสบการณ์การบันทึกงบการเงินของธุรกิจบริการด้วย บริษัทนี้เป็นบริษํทแรกเลย ดังนั้น พอเห็นสัดส่วนลูกหนี้ และ หนี้สินที่สูงกว่าบริษัทต่างๆที่เราศึกษาอยู่ จึงสอบถามอาจารย์เพื่อเป็นทางลัดแล้วค่อยไปศึกษาต่อในรายละเอียดครับ. 😊 

หลักๆ ผมก็ดูเรื่องความเสี่ยงเหมือนเดิมครับ คือ กำลังคิดว่ากรณีที่บริษัทค้าขายได้ดี แต่ยังเก็บเงินไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ ประกอบกับหนี้สินที่ต้องจ่ายมีเยอะ ถ้าเกิดสะดุดเรื่องลูกค้าไม่จ่ายเงิน จะกระทบกับธุรกิจแค่ไหน อย่างไร … เหล่านี้คือสิ่งที่ผมคิดอยู่ครับ.

 

ขอบคุณอาจารย์มากๆนะครับ ที่ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อผมมากๆเลยครับ (และที่สำคัญคือคอยชี้เป้าให้ด้วยครับ 😍 😇 )   
สำหรับหุ้นที่จะลงทุนเป็นหุ้นหลักใน port ทุกวันนี้ผมท่องไว้ในใจ ท่องไว้เป็นแนวคิด ตามที่อาจารย์แนะนำเลยครับ ถ้าวันนี้มีพันล้าน กล้าใส่เงินทั้งพันล้านลงในหุ้นตัวหนึ่งตัวนั้นหรือไม่

ขอบคุณมากๆครับ.

 

 


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1484
 

Posted by: @mr-lc-ucp

@prapas-b88

ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ ที่ช่วยตอบคำถามต่อข้อสงสัยหลายข้อของผม 🙂 /\

 

เรื่องการปันส่วนค่าความนิยม คือ ผมคิดว่าทั้ง Oracle และ Salesforce ต่างก็เป็นซอฟท์แวร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้วยกันทั้งคู่ และเป็นเครื่องจักรสำคัญในการสร้างรายได้ของบริษัท

การที่บริษัทสามารถบันทึกค่าความนิยมซอฟท์แวร์ใดเป็นสินทรัพย์ของบริษัทได้ กับ ไม่สามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ได้ น่าจะมีเหตุผลอยู่
ซึ่งเหตุผลนั้นอาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างมีนัยยะได้ในอนาคต เช่น โอกาสที่จะสูญเสียการทำธุรกิจในซอฟท์แวร์ที่ไม่สามารถบันทึกค่าความนิยมเป็นสินทรัพย์ได้
หรือผลประโยชน์ที่จะได้รับลดน้อยถอยลงไป

ผมกำลังประเมิน เรื่องความเสี่ยงในการทำธุรกิจอยู่ครับ.

 

เรื่องการรวมสัดส่วนลูกหนี้ กับหนี้สิน ข้อนี้ยอมรับตามตรงครับว่า จำนวนบริษัทที่ผมศึกษาอยู่ยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นค้าปลีก ไม่ใช่ธุรกิจบริการ ผมจึงยังไม่เข้าใจธรรมชาติของธุรกิจนี้ และไม่มีประสบการณ์การบันทึกงบการเงินของธุรกิจบริการด้วย บริษัทนี้เป็นบริษํทแรกเลย ดังนั้น พอเห็นสัดส่วนลูกหนี้ และ หนี้สินที่สูงกว่าบริษัทต่างๆที่เราศึกษาอยู่ จึงสอบถามอาจารย์เพื่อเป็นทางลัดแล้วค่อยไปศึกษาต่อในรายละเอียดครับ. 😊 

หลักๆ ผมก็ดูเรื่องความเสี่ยงเหมือนเดิมครับ คือ กำลังคิดว่ากรณีที่บริษัทค้าขายได้ดี แต่ยังเก็บเงินไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ ประกอบกับหนี้สินที่ต้องจ่ายมีเยอะ ถ้าเกิดสะดุดเรื่องลูกค้าไม่จ่ายเงิน จะกระทบกับธุรกิจแค่ไหน อย่างไร … เหล่านี้คือสิ่งที่ผมคิดอยู่ครับ.

 

ขอบคุณอาจารย์มากๆนะครับ ที่ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อผมมากๆเลยครับ (และที่สำคัญคือคอยชี้เป้าให้ด้วยครับ 😍 😇 )   
สำหรับหุ้นที่จะลงทุนเป็นหุ้นหลักใน port ทุกวันนี้ผมท่องไว้ในใจ ท่องไว้เป็นแนวคิด ตามที่อาจารย์แนะนำเลยครับ ถ้าวันนี้มีพันล้าน กล้าใส่เงินทั้งพันล้านลงในหุ้นตัวหนึ่งตัวนั้นหรือไม่

 

ขอบคุณมากๆครับ.

 

 

เรื่องลูกหนี้ผมคิดว่าควรลงรายละเอียดลงไปมากกว่าครับว่าเป็นใคร ยกตัวอย่างกลุ่มลูกหนี้ชัดๆนะครับมี 4 กลุ่มครับ 

1. Government หรือภาครัฐ ลูกหนี้กลุ่มนี้ความเสี่ยงเกือบเป็น 0 ครับ แต่เครดิตนานมาก เช่น 6-12 เดือนก็มี

2. Corporate หรือบริษัทขนาดใหญ่ ถ้าลูกหนี้เป็นกลุ่มนี้ความเสี่ยงจะต่ำมากๆ แต่ก็จะมีอำนาจต่อรองสูงมากๆทำให้ลูกหนี้อาจเยอะได้แต่ไม่ได้เสี่ยงมากครับ

3. SME หรือบริษัทขนาดเล็ก ลูกค้ากลุ่มนี้ข้อดีคือจะไม่มีลูกค้ารายไหนมีอำนาจต่อรองสูง แต่ข้อเสียคือมีความอ่อนแอทางการเงินมากกว่า

4. ประชาชนทั่วไป กลุ่มนี้ อำนาจต่อรองอยู่ที่บริษัท แต่มีความเสี่ยงสูงขึ้น อาจต้องลงลึกไปอีกว่าเป็นกลุ่มไหน เช่น A, B, C, D 

จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้วเราจะดูแค่ปริมาณลูกหนี้ที่มีเยอะอย่างเดียวก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนักครับ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นจะเป็นกลุ่ม ธนาคารครับ

1. KTB ลูกค้าหลักเป็นข้าราชการ และรัฐบาล ดังนั้นความเสี่ยงจึงต่ำสุดๆที่จะเกิด NPL

2. BBL ลูกค้าหลักเป็น Corporate นักลงทุนก็มองว่า BBL นั้นเป็นแบงค์ที่ปลอดภัยที่สุดในบรรดาแบงค์ใหญ่

3. KBANK, SCB ลูกค้าหลักเป็น SME และ ประชาชน เมื่อเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงเศรษฐกิจ หุ้น 2 ตัวนี้จึงมักจะนำลงก่อนเพื่อนเสมอ เป็นต้นครับ

สรุปผมคิดว่าความเสี่ยง ไม่ใช่แค่เชิง "ปริมาณ" เพียงอย่างเดียว แต่ต้องดู "คุณภาพ" ประกอบกันมากกว่าครับ

😉 

 


   
ReplyQuote
(@mr-lc-ucp)
Trusted Member
Joined: 1 year ago
Posts: 41
Topic starter  

@prapas-b88 ขอบคุณมากๆครับอาจารย์ กำลังจะติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก IR อยู่เลย ได้แนวทางการถามดีเลยครับ 🙂 


   
ReplyQuote
Share:
Protected by CleanTalk Anti-Spam