Forum

Notifications
Clear all

ขอถามเรื่องศัพท์ ในงบการเงินครับ


(@bukfilm)
Active Member
Joined: 3 years ago
Posts: 8
Topic starter  

1. สัญญาเช่าการเงิน ต่างกับสัญญาเช่าซ์้อ และเงินให้กู้ยืมอย่างไรครับ?

2. ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขาย ? --> เป็น expected loss ก็คือการตั้งสำรองหนี้เสียใช่ไหมครับ? แล้วคำว่าการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขายคืออะไรครับ?

3. ถ้า NPL เกิดหนี้เสียจริง ๆ จะบันทึกลงในส่วนไหนครับ?

3. สินทรัพย์ตราสารอนุพันธ์ หมายถึงอะไรครับ? อ่านในเน็ตไม่เข้าใจ

4. เงินวางประกันของลูกค้าที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี คือเงินอะไรครับ แล้วทำไมถึงอยู่ในหนี้สิน

ขอบคุณครับ


   
Quote
(@bukfilm)
Active Member
Joined: 3 years ago
Posts: 8
Topic starter  

ขอถามอีกข้อครับ 

- ไม่เข้าใจเรื่องการลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างขาดทุนสะสม นี่ การลดทุนจดทะเบียนเอาทุนของใครออกครับ?


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1522
 
Posted by: @bukfilm

1. สัญญาเช่าการเงิน ต่างกับสัญญาเช่าซ์้อ และเงินให้กู้ยืมอย่างไรครับ?

2. ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขาย ? --> เป็น expected loss ก็คือการตั้งสำรองหนี้เสียใช่ไหมครับ? แล้วคำว่าการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขายคืออะไรครับ?

3. ถ้า NPL เกิดหนี้เสียจริง ๆ จะบันทึกลงในส่วนไหนครับ?

3. สินทรัพย์ตราสารอนุพันธ์ หมายถึงอะไรครับ? อ่านในเน็ตไม่เข้าใจ

4. เงินวางประกันของลูกค้าที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี คือเงินอะไรครับ แล้วทำไมถึงอยู่ในหนี้สิน

ขอบคุณครับ

1. สัญญาเช่าทางการเงินเป็นมาตรฐานบัญชีใหม่ที่ชื่อว่า TFRS16 ครับ ใช้กับสัญญาการเช่าครับ ซึ่งบริษัทต้องบันทึก "ภาระสัญญาเช่าที่มีอยู่ในสัญญาในอนาคต" ลงในงบดุลครับ เป็นคนละเรื่องกันเลยกับสัญญาเช่าซื้อ ของธุรกิจเช่าซื้อครับ และเงินให้กู้ยืมก็คนละเรื่องอีกเช่นกันครับ ผมว่าอาจจะมีความสับสนค่อนข้างมากเลยครับ มันมีทั้งหมด 3 เรื่องครับ

     1.1 สัญญาเช่าทางการเงิน เป็นมาตรฐานการบันทึกบัญชีแบบใหม่ที่ชื่อว่า TFRS16 ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมากครับ แนะนำลองหาอ่านรายละเอียดดูก่อนครับ

     1.2 สัญญาเช่าซื้อ เป็นสัญญาการซื้อ "รถใหม่" หรือ"รถมือสอง" ของคนที่ไม่มีรถครับ  ก็เลยต้องกู้เงินเพื่อซื้อรถ โดยมี "รถ" เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน

     1.3 เงินให้กู้ยืม ก็มีหลายรูปแบบครับ เช่น

          1.3.1 มีสินทรัพย์ค้ำประกัน เช่น มีโฉนดที่ดิน, ทะเบียนรถ มาค้ำประกันเป็นต้นครับ เมื่อเราผิดนัดชำระ ก็จะโดนยึดสินทรัพย์ค้ำประกันครับ

          1.3.2 ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันครับ ก็เช่นบัตรเครดิต, บัตรกดเงินสด เป็นต้นครับ

2. Expected Credit Loss กับ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่ "คาดว่า" จะเกิดขึ้น เป็นสิ่งเดียวกันครับ

ส่วนการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขายคือ มูลค่าของสินทรัยพ์ที่ยึดมา เรียกว่า (NPA - Non Performing Assets) เมื่อยึดมาแล้ว มูลค่าอาจจะต่ำกว่ามูลหนี้ที่ยังเหลือ และอาจจะต่ำกว่าราคาที่เคยประเมินเอาไว้จริงครับ ทำให้มีการด้อยค่า และตีเป็นขาดทุนครับ

ในมาตรฐานบัญชีแบบเดิมนั้น เค้าจะบันทึกสองรายการนี้รวบยอดกันครับ

แต่ในมาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS 9 เค้าจะบันทึกแยกกันเป็น 2 รายการครับคือ 1. Expected Credit Loss กับ 2. การด้อยค่าของสินทรัพย์ ครับ และใน IFRS9 ก็ยังมีรายละเอียดของ ECL ที่ต่างจากเดิมด้วยครับ อันนี้ก็มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะครับ อาจจะต้องลองศึกษา มาตรฐานบัญชีตัวใหม่ดูครับ 🙂

3. ถ้า NPL เกิดหนี้เสียจริงๆ คือยังงี้ครับ หนี้เสียแปลว่าเค้าไม่จ่าย ทำยังไงก็ไม่จ่ายถูกไหมครับ ถ้าเกิดแบบนี้ขึ้น ทางบริษัทจะทำการ Write off ครับ หรือแทงจำหน่ายออกไปใน 2 รูปแบบครับ คือ 1. ขายให้กับบริษัท AMC แล้วตีกลับมาเป็นกำไร เนื่องจากได้ตั้งสำรองไปเต็มจำนวนแล้วนั่นเอง กับ 2. ตัดทิ้งไปเลยครับ ซึ่งก็จะจับคู่กับ ECL สะสมตัดออกไปด้วยกันครับ เรียกว่า Write off ทั้งคู่ครับ จะสามารถดูได้ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินครับ

4. ข้อนี้ไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่ครับ แต่อาจจะเป็นเงินประกันวงเงินครับ พอลูกค้าจ่ายล่วงหน้า มันไม่ใช่รายได้ของบริษัท บริษัทจึงต้องบันทึกไว้เป็นหนี้สินนั่นเองครับ 

ปล. รายได้รับล่วงหน้าทุกชนิด บริษัทต้องตั้งเป็น "หนี้สิน" เสมอครับ เพราะรับเงินมา แต่ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้ หรือมีการทะยอยส่งมอบตามกาลเวลาตามสัญญาครับ 

5. การลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างขาดทุนสะสม เป็นเหตุการณ์ปกติที่ทำกันบ่อยครับ สำหรับบริษัทที่ทำยังไงก็ขาดทุนอยู่นั่นเองครับ แล้วพอจะเพิ่มทุน ก็ไม่มีใครยอมเพิ่มแล้วครับ บริษัทไม่มีทางเลือกจึงต้องเลือกที่จะลดทุนจดทะเบียนลงเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อสามารถกู้เพิ่มได้อีกครั้ง ส่วนทุนที่ลด ก็เป็นส่วนทุนของบริษัทตรงๆเลยครับ เช่น

เดิมมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แต่มีขาดทุนสะสมอยู่ 20 ล้านบาท มี 100 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 1 บาท

บริษัทลดทุนจดทะเบียนลงเหลือ 80 ล้านบาท แต่ยังมี 100 ล้านหุ้นเหมือนเดิม จึงทำให้ราคาหุ้นลดลงเหลือ 0.80 บาท แทนครับ


   
ReplyQuote
Share:
Protected by CleanTalk Anti-Spam