Forum

Notifications
Clear all

สอบถามเกี่ยวกับ การคิดลดเงินสด


(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

สวัสดีครับอาจารย์ อยู่ๆก็สับสน เรื่องการคิดลดเงินสดครับอาจารย์ สมมุติไปสมมุติมา งง ซะงั้น รบกวนขอความรู้อาจารย์ครับ

สมมติ ว่า มี บริษัท A และ B และทั้งคู่ มี Asset รวม เท่ากันเลย และเป็น Operating asset ทั้งหมด

ข้อแตกต่างของบริษัท A และ B คือ สัดส่วน หนี้สินต่อทุน ผมสมมุติดังนี้ครับ

1. หนี้สินทั้งหมดเป็นหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย

2. A มีหนี้มากกว่า B ดังนั้น ส่วน ทุน A ก็น้อยกว่าส่วนทุน B

3. WACC ของ A ก็ต้อง น้อยกว่า B เพราะมีส่วนหนี้ดึงต้นทุนเงินทุนลงให้ต่ำกว่า B หลังเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักทั้งคู่

4. ทั้ง A,B สร้าง เงินสดได้เท่ากันในอนาคต

5. ผมจะตีมูลค่าบริษัทแบบรวม เพื่อที่จะซื้อทั้งบริษัท (ไม่ต้องคิดแยกส่วนหนี้ส่วนทุน)

6. ผมตีมูลค่าโดยคิดลดเงินสดด้วยอัตราคิดลด WACC

7. เนื่องจาก A ที่มีหนี้มากกว่า WACC ต่ำกว่า มูลค่าปัจจุบันหรือ Firm value ของ A เลยสูงกว่า B ที่มี WACC มากกว่า

สิ่งที่ผม งง คือ กลายเป็นว่า ผมต้องซื้อ บริษัท A แพงกว่าบริษัท B ทั้งๆที่ A มีหนี้มากกว่า B เหมือนกับว่า ยิ่งบริษัทมีหนี้เยอะผมยิ่งต้องจ่ายแพง ทั้งๆที่สร้างกระแสเงินสดเท่ากัน ซึ่งอนาคตถ้าผมอยากล้างหนี้ ผมก็ต้องเสียเงินเยอะด้วยเพราะหนี้เยอะ ผมเสียเยอะสองต่อเลย 

ผมทราบว่าผมกำลังมองผิดประเด็นแต่ยังนึกไม่ออก เลยรบกวนสอบถามอาจารย์ครับ

This topic was modified 1 year ago by ANTadmin

   
Quote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1455
 
Posted by: @satjatham-polsaen

สวัสดีครับอาจารย์ อยู่ๆก็สับสน เรื่องการคิดลดเงินสดครับอาจารย์ สมมุติไปสมมุติมา งง ซะงั้น รบกวนขอความรู้อาจารย์ครับ

สมมติ ว่า มี บริษัท A และ B และทั้งคู่ มี Asset รวม เท่ากันเลย และเป็น Operating asset ทั้งหมด

ข้อแตกต่างของบริษัท A และ B คือ สัดส่วน หนี้สินต่อทุน ผมสมมุติดังนี้ครับ

1. หนี้สินทั้งหมดเป็นหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย

2. A มีหนี้มากกว่า B ดังนั้น ส่วน ทุน A ก็น้อยกว่าส่วนทุน B

3. WACC ของ A ก็ต้อง น้อยกว่า B เพราะมีส่วนหนี้ดึงต้นทุนเงินทุนลงให้ต่ำกว่า B หลังเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักทั้งคู่

4. ทั้ง A,B สร้าง เงินสดได้เท่ากันในอนาคต

5. ผมจะตีมูลค่าบริษัทแบบรวม เพื่อที่จะซื้อทั้งบริษัท (ไม่ต้องคิดแยกส่วนหนี้ส่วนทุน)

6. ผมตีมูลค่าโดยคิดลดเงินสดด้วยอัตราคิดลด WACC

7. เนื่องจาก A ที่มีหนี้มากกว่า WACC ต่ำกว่า มูลค่าปัจจุบันหรือ Firm value ของ A เลยสูงกว่า B ที่มี WACC มากกว่า

สิ่งที่ผม งง คือ กลายเป็นว่า ผมต้องซื้อ บริษัท A แพงกว่าบริษัท B ทั้งๆที่ A มีหนี้มากกว่า B เหมือนกับว่า ยิ่งบริษัทมีหนี้เยอะผมยิ่งต้องจ่ายแพง ทั้งๆที่สร้างกระแสเงินสดเท่ากัน ซึ่งอนาคตถ้าผมอยากล้างหนี้ ผมก็ต้องเสียเงินเยอะด้วยเพราะหนี้เยอะ ผมเสียเยอะสองต่อเลย 

ผมทราบว่าผมกำลังมองผิดประเด็นแต่ยังนึกไม่ออก เลยรบกวนสอบถามอาจารย์ครับ

ผมเองไม่ได้ใช้ dcf มาสิบปีละครับ >< พอไม่ได้ใช้บ่อย ก็ไม่ชำนาญครับ ต้องขอโทษด้วยนะครับที่อาจจะเคลียร์คำถามให้ไม่ได้ครับ ผมเข้าใจว่าน่าจะศึกษามาพอสมควร เลยคิดว่าควรได้รับคำตอบจากคนที่ชำนาญมากกว่าครับ ^ ^ 


   
ReplyQuote
(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

@prapas-b88 ขอบคุณมากครับอาจารย์ ผมก็คิดว่าศึกษาไปก็คงไม่ได้ใช้ แต่ว่าผมก็พอได้ประโยชน์จากการศึกษา DCF แบบทางอ้อมครับ เช่นเข้าใจ การประเมิน P/E ที่เหมาะสมมากขึ้น แล้วภาพอนาคตมากขึ้น ไม่ได้จากตัวเลขหรือสมการ  แต่การจิตนาการเงินสดและความแน่นอนของอนาคต และทำให้อ่านหนังสือเล่มอื่นเข้าใจที่ผู้เขียนอยากสื่อมากขึ้น


   
ReplyQuote
(@Anonymous 65611)
Active Member
Joined: 2 years ago
Posts: 10
 

https://www.finnomena.com/investment-reader/dcf/

จากบทความนี้ เข้าใจว่าตอนสุดท้ายไม่ได้เอามูลค่าที่ discount มาแล้ว ลบกับหนี้ที่บริษัทมีในปีปัจจุบันรึเปล่าครับ

ถ้าลบแล้ว บริษัท A ควรจะมีมูลค่าน้อยกว่า B เพราะหนี้เยอะกว่า

 


   
ReplyQuote
(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

@pongsatorn-sukontavarin

ขอบคุณสำหรับลิ้งครับคุณ NUI ตามหลักการแล้วเวลาหามูลค่าหุ้น (มูลค่าหุ้นอย่างเดียวไม่ใช่มูลค่าบริษัท) แล้ว ต้องเอามูลค่าบริษัทที่คิดลด ลบด้วยส่วนหนี้ก่อนถึงจะเป็นมูลค่าหุ้น (เพราะมูลค่าบริษัทเกิดจากทั้งหนี้และทุน) และถ้า หารจำนวนหุ้น ก็เป็นราคาต่อหุ้นตามที่ลิ้ง คุณ Nui ส่งมาเลยครับ ซึ่งเป็นการประเมินหุ้น (ส่วนทุน) ทั่วไป

 แต่ผมพยายามสมมุติโดยกำหนดเงื่อนไขตามข้อ 5. "ผมจะตีมูลค่าบริษัทแบบรวม เพื่อที่จะซื้อทั้งบริษัท (ไม่ต้องคิดแยกส่วนหนี้ส่วนทุน)" 

คือผมไม่ได้สนใจที่มูลค่าหุ้นอย่างเดียวแต่สนใจมูลค่าทั้งบริษัท หรือ Firm value ผมเลยไม่ได้เอาหนี้มาลบออก จะเห็นว่ามูลค่า บริษัทรวมจะมากขึ้นเมื่อมีหนี้มากขึ้น คือถ้าผมจะซื้อ ผมต้องจ่ายแพงขึ้นถ้าหนี้มากขึ้น แต่ผมพอจะนึกอะไรออก แล้วครับ เรื่องนี้อาจจะต้องพูดถึง IRR ด้วย ก็พอจะเริ่มเห็นคำตอบ แต่ยังติดอีกนิดหน่อย 


   
ReplyQuote
(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

นั่นคือบริษัทมีมูลค่าของกระแสเงินสดอิสระที่สร้างตลอดอายุกิจการคือ 24,317 ล้านบาท แต่กระแสเงินสดนี้ต้องนำไปชำระหนี้ก่อนจึงจะเหลือเป็นมูลค่าของบริษัทคือ 24317 – 2800 +350 = 21,867 ล้านบาท

 

ประโยคนี้ผมดึงมาจากลิ้งที่คุณนุ้ยส่งมา ตรงตัวหนาเป็นมูลค่ารวมของกิจการหรือบริษัท หรือ (Asset รวม ฝั่งซ้าย ของงบดุล ที่มาจากส่วนของหนี้สินและทุน)ตรงนี้ผมเห็นด้วย  แต่ส่วนที่ขีดเส้นใต้ผมไม่เห็นด้วยตรงนี้ไม่ควรเรียกว่ามูลค่าของบริษัท ควรเรียกว่ามูลค่าบริษัท"สุทธิ" หรือส่วนทุน ดังนั้น จึงต้องลบหนี้ออก

จากข้อกำหนดของผมตามที่ผมระบุไว้ข้างบน ผมพยายามจะสมมุติเงินสดก้อนแรกที่จะต้องจ่ายเพื่อซื้อบริษัททั้งก้อนก่อนที่แยกออกไปจ่ายหนี้ ผมขอสมมุติแบบนี้ครับ

มีรถสองคัน ราคาทุนเท่ากันเลย และรถทั้งสองคันสามารถเอาไปหารายได้ ได้เงินสดเท่ากันเลย ผมจะซื้อรถคันนี้ทั้งคัน ทั้งส่วนหนี้และส่วนทุนผมรวมเป็นเงินก้อนเดียว

สุมมติ รถคนแรก หนี้ 20% ทุน 80%  (WACC จะสูง)

รถคันที่สอง หนี้ 80% ทุน 20 %     (WACC จะต่ำ)

 

จะเห็นว่าผมต้องหาเงินก้อนแรกเพื่อมาจ่ายทั้งหนี้ทั้งทุน ในรถคันที่ 2 มากกว่า คันที่ 1 ทั้งๆที่สร้างกระแสเงินสดเท่ากัน

This post was modified 1 year ago by Satjatham Polsaen

   
ReplyQuote
(@Anonymous 65611)
Active Member
Joined: 2 years ago
Posts: 10
 

ผมเข้าใจว่า WACC ในกรณีแบบนี้ Kd คือ ต้นทุนเงินลงทุนของเจ้าหนี้ (Cost of Debt) ควรเป็น 1 ไหมครับ ไม่ติดที่อัตราดอกเบี้ยเพราะตอนที่เราซื้อ Asset เราจะซื้อหนี้ส่วนที่เป็นเงินต้นเท่านั้น (เพื่อให้เจ้าของเดิมเอาไปปิดหนี้) ไม่คิดจากมูลค่าที่รวมดอกเบี้ย แล้วคิดลดกลับมา

 

ดังนั้น WACC ของบริษัท A น่าจะต่ำกว่าไหมครับ


   
ReplyQuote
(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

@pongsatorn-sukontavarin

ยิ่ง เรากำหนด ต้นทุนเงินทุนส่วนหนี้สินต่ำเท่าไหร่ อาจเป็น 1% อย่างที่คุณนุ้ยบอก ก็ยิ่งทำให้ WACC หรืออัตราคิดลดเฉลี่ยต้นทุน ต่ำลงเท่านั้น ยิ่งอัตราคิดลด ต่ำลง หรือ WACC ของ บริษัท A ต่ำลง ก็ยิ่งทำให้ มูลค่าปัจจุบัน ของ บริษัท A สูงขึ้นหรือแพงขึ้นครับ (ซึ่ง A เป็นบริษัทที่มีหนี้มากกว่า)   คล้ายๆกับข้อสมมุติข้อที่ 3 และ 7 ที่ผมเขียนไว้ครับ     


   
ReplyQuote
(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

ผมไม่แน่ใจว่ากำลังเข้าใจส่วนที่คุณนุ้ยอธิบายถูกต้องมั้ย ถ้าผิดประเด็นยังไง รบกวนอธิบายเพิ่มครับ ขอบคุณมากครับ


   
ReplyQuote
(@Anonymous 65611)
Active Member
Joined: 2 years ago
Posts: 10
 

@satjatham-polsaen

ผมสับสนเองครับ 555+ เมื่อ WACC น้อยกว่าก็ต้องประเมินได้สูงกว่า 

กำลังพยายามหาคำตอบอยู่ครับว่าทำไมกรณีแบบนี้ถึงดูว่าบริษัท A มีมูลค่าคิดลดสูงกว่าบริษัท B


   
ReplyQuote
(@Anonymous 65611)
Active Member
Joined: 2 years ago
Posts: 10
 

ผมคิดว่าอาจจะผิดที่ประเด็น เงินสดครับ  การคิด DCF ที่อ่านมา น่าจะต้องใช้ Free Cash Flow (FCF) ซึ่งต้องเป็นเงินสดสุทธิที่หักดอกเบี้ยจ่ายแล้ว ดังนั้น ถ้าสองบริษัท Generate เงินสดได้เท่ากัน   FCF ของบริษัท A ต้องน้อยกว่า B เพราะถูกหักด้วยดอกเบี้ยจ่ายตามสัดส่วนหนี้ที่มากกว่าครับ


   
ReplyQuote
(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

@pongsatorn-sukontavarin  ปกติแล้วการคิด FREE CASH flow จะไม่ลบดอกเบี้ยครับ  เพราะดอกเบี้ยเป็นส่วนนึงของต้นทุนเงินกู้ ที่เราคิดใช้คิด  WACC แล้ว ให้มองว่าเป็นผลตอบแทนส่วนเงินกู้ก็ได้ครับ ถ้าเราหักดอกเบี้ย จะเกิดการหักซ้ำซ้อน การคิด Free cash flow จริงๆ ต้องคิดจาก EBITx(1-T)+DA-CAPEX-CWC จะเห็นว่าเราจะเอากำไรก่อนดอกเบี้ยมาคิด ครับ  


   
ReplyQuote
(@Anonymous 65611)
Active Member
Joined: 2 years ago
Posts: 10
 

กรณีที่นำวิธีนี้มาใช้เปรียบเทียบสองสิ่งที่เหมือนกัน ผลลัพท์ที่ได้ผมว่าก็น่าจะโอเคแล้วไหมครับ

เมื่อสิ่งที่คำนวนได้คือ บริษัท A แพงกว่า บริษัท B  แต่ Generate Cash Flow ได้เหมือนกัน  แบบนี้ก็แสดงว่าเราควรซื้อบริษัท B 

 


   
ReplyQuote
(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

@pongsatorn-sukontavarin จากข้อสมมุติผม จริงๆไม่ได้เจตนาว่า ควรซื้ออันได้ แต่เจตนาหามูลค่าที่เหมาะสม ทั้งสองกรณี ซึ่งตามหลักสามัญสำนึกแล้วมันควรเท่ากัน  ผมว่า เคสนี้ เอาอาจถอยออกมาจากทฤษฏี เรื่องการหาค่าเฉลี่ย WACC จากทั้งส่วนหนี้ และส่วนทุน  แต่เรามองไปเลยว่าเราต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่ สำหรับรถทั้งสองคัน ที่สร้างรายได้เงินสดเท่ากัน เช่น เรายอมรับที่ 10% คิดลด เราก็ใช้หาทั้งสองคัน เพราะเป็นราคาที่เรายอมจ่าย เราก็จะได้มูลค่าที่เหมาะสมทั้งสองคันเท่ากัน 


   
ReplyQuote
(@Anonymous 65611)
Active Member
Joined: 2 years ago
Posts: 10
 

@satjatham-polsaen

ครับ  ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมคิดว่า ที่บริษัท A คิดลดออกมาได้มูลค่าสูงกว่า ส่วนต่างนั้นอาจจะคิดได้ว่าเป็นค่า premium หรือ credit ที่สามารถทำการกู้ได้มากกว่า บริษัท B ครับ

 


   
ReplyQuote
Share:
Protected by CleanTalk Anti-Spam