Forum

Notifications
Clear all

สอบถาม นอกเรื่องหุ้น


(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

สวัสดีครับอาจารย์ วันนี้ผมขออนุญาตถามนอกเรื่องนิดนึงไม่แน่ใจว่าอาจารย์พอจะทราบมั้ย เพราะเห็นอาจารย์มีบริษัทด้วย

บริษัทจำกัด ก็จะจำกัดตามทุนจดทะเบียน ยิ่งจดทะเบียนสูงยิ่งน่าเชื่อถือว่าจะชดใช้เงินได้ หรือหมายความว่า หลังเอาทรัพย์สินย์ลบจากหนี้แล้วเหลือทุนให้ชำระเท่าไหร่ ผมเกิดความสงสัยนิดนึงขอแยกเป็นสองกรณีครับ

กรณี1: สมมุติบริษัทมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทแต่บริษัทขาดทุนสะสมอยู่ 3 แสน เลยทำให้ส่วนทุนลดลง ถ้าบริษัทโดนฟ้อง ที่บอกว่ารับผิดชอบเท่าทุนจดทะเบียน หมายความว่าแม้เราขาดทุนอยู่ 3 แสน เหลือทุนจริงอยู่ 7 แสน เราต้องไปหาอีก 3 แสนมาชดใช้ด้วยเหรอครับ 

กรณี1: สมมุติบริษัทมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แต่บริษัทมีกำไรสะสม 5 แสนบาท ตอนนี้รวมส่วนทุนทั้งหมด 1.5 ล้านบาท ถ้าบริษัทเกิดความเสียหาย คู่กรณีสามารถเรียกร้องได้สุงสุดถึงแค่ 1 ล้านบาท เท่าทุนจดทะเบียน หรือได้ 1.5 ล้านบาทเท่าทุนจดทะเบียนบวกกำไรสะสมครับ. แล้วถ้าเราสามารถเรียกร้องได้ 1.5 บาท ระหว่างนั้นบริษัทเลยตัดสินใจจ่ายปันผล 5 แสนบาท ให้เหลือแค่เงินทุน 1 ล้านบาท แบบนี้บริษัททำได้มั้ย เพราะถือว่าจำกัดการรับผิดชอบที่ 1 ล้านบาท ไม่ได้ผิดอะไรรึเปล่า

This topic was modified 1 year ago by ANTadmin

   
Quote
(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

สวัสดีครับอาจารย์ วันนี้ผมขออนุญาตถามนอกเรื่องนิดนึงไม่แน่ใจว่าอาจารย์พอจะทราบมั้ย เพราะเห็นอาจารย์มีบริษัทด้วย

บริษัทจำกัด ก็จะจำกัดตามทุนจดทะเบียน ยิ่งจดทะเบียนสูงยิ่งน่าเชื่อถือว่าจะชดใช้เงินได้ หรือหมายความว่า หลังเอาทรัพย์สินย์ลบจากหนี้แล้วเหลือทุนให้ชำระเท่าไหร่ ผมเกิดความสงสัยนิดนึงขอแยกเป็นสองกรณีครับ

กรณี1: สมมุติบริษัทมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทแต่บริษัทขาดทุนสะสมอยู่ 3 แสน เลยทำให้ส่วนทุนลดลง ถ้าบริษัทโดนฟ้อง ที่บอกว่ารับผิดชอบเท่าทุนจดทะเบียน หมายความว่าแม้เราขาดทุนอยู่ 3 แสน เหลือทุนจริงอยู่ 7 แสน เราต้องไปหาอีก 3 แสนมาชดใช้ด้วยเหรอครับ 

กรณี2: สมมุติบริษัทมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แต่บริษัทมีกำไรสะสม 5 แสนบาท ตอนนี้รวมส่วนทุนทั้งหมด 1.5 ล้านบาท ถ้าบริษัทเกิดความเสียหาย คู่กรณีสามารถเรียกร้องได้สุงสุดถึงแค่ 1 ล้านบาท เท่าทุนจดทะเบียน หรือได้ 1.5 ล้านบาทเท่าทุนจดทะเบียนบวกกำไรสะสมครับ. แล้วถ้าเราสามารถเรียกร้องได้ 1.5 บาท ระหว่างนั้นบริษัทเลยตัดสินใจจ่ายปันผล 5 แสนบาท ให้เหลือแค่เงินทุน 1 ล้านบาท แบบนี้บริษัททำได้มั้ย เพราะถือว่าจำกัดการรับผิดชอบที่ 1 ล้านบาท ไม่ได้ผิดอะไรรึเปล่า


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1516
 
Posted by: @satjatham-polsaen

สวัสดีครับอาจารย์ วันนี้ผมขออนุญาตถามนอกเรื่องนิดนึงไม่แน่ใจว่าอาจารย์พอจะทราบมั้ย เพราะเห็นอาจารย์มีบริษัทด้วย

บริษัทจำกัด ก็จะจำกัดตามทุนจดทะเบียน ยิ่งจดทะเบียนสูงยิ่งน่าเชื่อถือว่าจะชดใช้เงินได้ หรือหมายความว่า หลังเอาทรัพย์สินย์ลบจากหนี้แล้วเหลือทุนให้ชำระเท่าไหร่ ผมเกิดความสงสัยนิดนึงขอแยกเป็นสองกรณีครับ

กรณี1: สมมุติบริษัทมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทแต่บริษัทขาดทุนสะสมอยู่ 3 แสน เลยทำให้ส่วนทุนลดลง ถ้าบริษัทโดนฟ้อง ที่บอกว่ารับผิดชอบเท่าทุนจดทะเบียน หมายความว่าแม้เราขาดทุนอยู่ 3 แสน เหลือทุนจริงอยู่ 7 แสน เราต้องไปหาอีก 3 แสนมาชดใช้ด้วยเหรอครับ 

กรณี2: สมมุติบริษัทมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แต่บริษัทมีกำไรสะสม 5 แสนบาท ตอนนี้รวมส่วนทุนทั้งหมด 1.5 ล้านบาท ถ้าบริษัทเกิดความเสียหาย คู่กรณีสามารถเรียกร้องได้สุงสุดถึงแค่ 1 ล้านบาท เท่าทุนจดทะเบียน หรือได้ 1.5 ล้านบาทเท่าทุนจดทะเบียนบวกกำไรสะสมครับ. แล้วถ้าเราสามารถเรียกร้องได้ 1.5 บาท ระหว่างนั้นบริษัทเลยตัดสินใจจ่ายปันผล 5 แสนบาท ให้เหลือแค่เงินทุน 1 ล้านบาท แบบนี้บริษัททำได้มั้ย เพราะถือว่าจำกัดการรับผิดชอบที่ 1 ล้านบาท ไม่ได้ผิดอะไรรึเปล่า

1. ไม่ใช่ครับ การ "นับ" ความรับผิดชอบ อยู่ที่ประโยคที่ว่า "ทุนชำระแล้ว" การที่บอกว่ามีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทนั้นไม่สำคัญเท่า "ทุนชำระแล้ว" ครับ หากชำระครบแล้ว เราไม่ต้องควักกระเป๋าเพิ่มแล้วครับ แม้ว่าบริษัทจะไม่มีเงินใช้หนี้ครับ แต่.....อาจจะมีประเด็นอื่นตามมาแทนครับ เช่น ประเด็น "ทุจริต" "ประมาทเลินเล่อ" พวกนี้เจ้าหนี้อาจจะสามารถฟ้องกรรมการให้ชดใช้รายบุคคลที่มีอำนาจเซ็นได้ครับ

2. ไม่ใช่ครับ บริษัทต้องชำระเต็มจำนวนครับ หากไม่ชำระ จะโดนฟ้องร้องบังคับคดีครับ


   
ReplyQuote
(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

@prapas-b88

หมายความว่าถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทและชำระแล้วเต็มจำนวนที่ 1 ล้านบ้าน ณเวลาโดนฟ้อง บริษัทจะมีทุนสุทธิเหลือเท่าไหร่ก็แล้วแต่จากกำไรสะสมหรือขาดทุนสะสม หากโดนฟ้องซึง่เขาอาจฟ้อง 300 ล้านบาท (สมมุติ) เขาก็ต้องมาดูว่า บริษัทมีทรัพย์สินเท่าไหร่หนี้เท่าไหร่เหลือเท่าไหร่ เช่นสุทธิแล้วเหลือแค่ 100 ล้าน (ขายทรัพย์สินทั้งหมดและหีกหนี้) ขาดอีก 200 ล้าน ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องจ่าย ล้มละลายไปใช่มั้ยครับจบคดีความกันไป หรือมันมีขบวนการอย่างไรสำหรับอีก 200 ล้านครับซึ่งดูแล้วบริษัทไม่น่าหาคืนได้     สมมุติ กรรมการไม่ผิดเลยฟ้องกรรมการไม่ได้ บริษัทผิดล้วนๆ


   
ReplyQuote
(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

ผมกำลังคิดว่าจริงๆแล้ว จำนวนทุนจดทะเบียนและทุนจดทะเบียนชำระแล้วมันดูเหมือนไม่สำคัญเท่ากับ Wealth ที่บริษัทมี ณ ปัจจุบันเวลาไปยืนประมูล เช่น บริษัทมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว 1 ล้านบาทเปิดมาสิบปีแล้ว ปัจจุบันบริษัทโตขึ้นมากจากกำไรสะสมมาตลอด จนทำให้ส่วนทุน เป็น 1000 ล้าน และไม่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเลย แบบนี้บริษัทก็ดูน่าเชื่อถือโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วสูงเลย คู่ค้าเห็นว่าบริษัทมี เงินสดและทรัพย์สินหักหนี้เหลือเยอะมากถ้าเกิดปัญหาก็ฟ้องได้เยอะ ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1516
 
Posted by: @satjatham-polsaen

@prapas-b88

หมายความว่าถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทและชำระแล้วเต็มจำนวนที่ 1 ล้านบ้าน ณเวลาโดนฟ้อง บริษัทจะมีทุนสุทธิเหลือเท่าไหร่ก็แล้วแต่จากกำไรสะสมหรือขาดทุนสะสม หากโดนฟ้องซึง่เขาอาจฟ้อง 300 ล้านบาท (สมมุติ) เขาก็ต้องมาดูว่า บริษัทมีทรัพย์สินเท่าไหร่หนี้เท่าไหร่เหลือเท่าไหร่ เช่นสุทธิแล้วเหลือแค่ 100 ล้าน (ขายทรัพย์สินทั้งหมดและหีกหนี้) ขาดอีก 200 ล้าน ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องจ่าย ล้มละลายไปใช่มั้ยครับจบคดีความกันไป หรือมันมีขบวนการอย่างไรสำหรับอีก 200 ล้านครับซึ่งดูแล้วบริษัทไม่น่าหาคืนได้     สมมุติ กรรมการไม่ผิดเลยฟ้องกรรมการไม่ได้ บริษัทผิดล้วนๆ

ล้มละลายถูกต้องครับ หนี้ที่เหลือสูญครับ 🙂 ไม่สามารถฟ้องเจ้าของต่อได้ครับ

นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า "ล้มบนฟูก" ครับ เพราะเจ้าของกิจการสามารถปันผลออกจากกิจการจนหมดแทบไม่เหลือกำไรสะสม แล้วค่อยปล่อยให้ล้มละลายได้ครับ

แต่ในทางธุรกิจคนที่จะทำได้แบบนี้ ก็อาจจะต้องมั่นใจแล้วว่าจะไม่ทำธุรกิจอีกครับ เพราะเจ้าหนี้ทั้งหลายก็จะกาหัวเป็น Blacklist และไม่ให้กู้ยืมอีกในอนาคตนั่นเองครับ


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1516
 
Posted by: @satjatham-polsaen

ผมกำลังคิดว่าจริงๆแล้ว จำนวนทุนจดทะเบียนและทุนจดทะเบียนชำระแล้วมันดูเหมือนไม่สำคัญเท่ากับ Wealth ที่บริษัทมี ณ ปัจจุบันเวลาไปยืนประมูล เช่น บริษัทมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว 1 ล้านบาทเปิดมาสิบปีแล้ว ปัจจุบันบริษัทโตขึ้นมากจากกำไรสะสมมาตลอด จนทำให้ส่วนทุน เป็น 1000 ล้าน และไม่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเลย แบบนี้บริษัทก็ดูน่าเชื่อถือโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วสูงเลย คู่ค้าเห็นว่าบริษัทมี เงินสดและทรัพย์สินหักหนี้เหลือเยอะมากถ้าเกิดปัญหาก็ฟ้องได้เยอะ ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ

ทรัพย์สินเยอะก็จ่ายหนี้ได้เยอะถูกต้องครับ

แต่ทุนจดทะเบียนชำระแล้วสำคัญมากๆครับ

เพราะ สมมุติ ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท แต่ชำระแล้วเพียงแค่ 250k ก็แปลว่ายังไม่ได้ชำระอีก 750k และหากบริษัทเป็นหนี้สัก 1 ล้านบาท แล้วมีเงินแค่ 250k เจ้าหนี้สามารถฟ้องเอากับเจ้าของได้ครับ เจ้าของต้องควักเงินให้อีก 750k ต่างหากครับ เนื่องจาก เจ้าของยัง "ชำระมูลค่าหุ้น" ไม่ครบตามทุนจดทะเบียนครับ


   
ReplyQuote
(@satjatham-polsaen)
Estimable Member
Joined: 2 years ago
Posts: 73
Topic starter  

@prapas-b88 เรื่องปันผลออกก่อนพอเริ่มรู้ตัวเป็นเรื่องที่ผมสงสัยเลยครับ รีบเอาออกก่อน ให้เหลือแต่ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วและส่วนที่ต้องสำรองตามกฏหมาย บางทีบริษัทที่ทำมานานๆกำไรสะสมมากกว่า ทุนที่ชำระแล้วซะอีก ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ ช่วยตอบคำถามเรื่อยเปื่อยของผมทุกคำถามเลย


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1516
 
Posted by: @satjatham-polsaen

@prapas-b88 เรื่องปันผลออกก่อนพอเริ่มรู้ตัวเป็นเรื่องที่ผมสงสัยเลยครับ รีบเอาออกก่อน ให้เหลือแต่ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วและส่วนที่ต้องสำรองตามกฏหมาย บางทีบริษัทที่ทำมานานๆกำไรสะสมมากกว่า ทุนที่ชำระแล้วซะอีก ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ ช่วยตอบคำถามเรื่อยเปื่อยของผมทุกคำถามเลย

555+ ยินดีครับ บริษัทนอกตลาดส่วนใหญ่จะปันผลออกหมดเลยครับอั๋น กำไรสะสมเป็น 0 กันเลย


   
ReplyQuote
Share:
Protected by CleanTalk Anti-Spam