Forum

Notifications
Clear all

ลองคำนวณ NPL ตามคลิปยูทูป NPL เพิ่มเท่าตัว แล้วมีคำถามครับ


(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
Topic starter  

สวัสดีครับอาจารย์

ผมเคยคำนวณ NPL แบบที่ อ. ทำในคลิปยูทูปล่าสุด (คลิป NPL เพิ่มเท่าตัว)

เจอว่าตัวเลขที่ได้ ไม่ตรงกับ NPL ที่ธนาคาร (KBANK) บอกใน MD&A

เพราะตัวเลขที่ใช้คำนวณไม่ตรงกัน

ถ้าเอาตามงบ Q3 (งบรวม) ก็จะได้ตัวเลขตามนี้ครับ

1. รวมหนี้ทั้ง 3 ชั้นได้ 2.48 ล้านล้านบาท (จากหมายเหตุประกอบงบ)
2. บัญชีลูกหนี้ในงบดุลคือ 2.36 ล้านล้านบาท

3. หนี้ชั้นที่ 3 คือ 8.83 หมื่นล้านบาท (จากหมายเหตุประกอบงบ)

ถ้าคิด NPL ด้วยการเอา 8.83 หมื่น หารด้วย 2.48 ล้าน จะได้ 3.5%

ซึ่งใน MD&A บอกว่า NPL คือ 3.07%

 

พอเข้าไปดูการคำนวณในหมายเหตุประกอบงบเจอว่า

เขาใช้ 8.77 หมื่นล้าน หารด้วย 2.85 ล้านล้าน

ตั้งแต่ตอนนั้นเลยมีความเข้าใจว่า ธนาคารคงมีตัวเลขของเขาเอง ที่อาจจะมีการปรับอะไรสักอย่าง

ส่วนตัวเลขที่เราคำนวณได้ ก็เอาไว้ดูแนวโน้มของเราเอง

อันนี้เป็นเหตุการณ์ปกติใช่มั๊ยครับ หรือ ผมคิดผิด รบกวนชี้แนะด้วยครับ


   
Quote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1516
 
Posted by: @pongpisut-khrutmuang

สวัสดีครับอาจารย์

ผมเคยคำนวณ NPL แบบที่ อ. ทำในคลิปยูทูปล่าสุด (คลิป NPL เพิ่มเท่าตัว)

เจอว่าตัวเลขที่ได้ ไม่ตรงกับ NPL ที่ธนาคาร (KBANK) บอกใน MD&A

เพราะตัวเลขที่ใช้คำนวณไม่ตรงกัน

ถ้าเอาตามงบ Q3 (งบรวม) ก็จะได้ตัวเลขตามนี้ครับ

1. รวมหนี้ทั้ง 3 ชั้นได้ 2.48 ล้านล้านบาท (จากหมายเหตุประกอบงบ)
2. บัญชีลูกหนี้ในงบดุลคือ 2.36 ล้านล้านบาท

3. หนี้ชั้นที่ 3 คือ 8.83 หมื่นล้านบาท (จากหมายเหตุประกอบงบ)

ถ้าคิด NPL ด้วยการเอา 8.83 หมื่น หารด้วย 2.48 ล้าน จะได้ 3.5%

ซึ่งใน MD&A บอกว่า NPL คือ 3.07%

 

พอเข้าไปดูการคำนวณในหมายเหตุประกอบงบเจอว่า

เขาใช้ 8.77 หมื่นล้าน หารด้วย 2.85 ล้านล้าน

ตั้งแต่ตอนนั้นเลยมีความเข้าใจว่า ธนาคารคงมีตัวเลขของเขาเอง ที่อาจจะมีการปรับอะไรสักอย่าง

ส่วนตัวเลขที่เราคำนวณได้ ก็เอาไว้ดูแนวโน้มของเราเอง

อันนี้เป็นเหตุการณ์ปกติใช่มั๊ยครับ หรือ ผมคิดผิด รบกวนชี้แนะด้วยครับ

เอ ปกติพี่ก็คำนวณแบบนี้แล้วก็ตรงกับที่บริษัทแจ้งตลอดนะ

พอดีพี่ไม่ได้ตามตัวเลขแบงค์พักใหญ่ๆละ เดี๋ยวพี่ลองอัพเดทแล้วเดี๋ยวพี่มาอัพเดทอีกทีน้า


   
ReplyQuote
(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
Topic starter  

ขอบคุณล่วงหน้าครับ ขอรบกวนถามเพิ่มนะครับ

1. current loan (หนี้ที่จะจ่ายหมดปีนี้) นี่ดูตรงไหนครับ หรือแบงค์ใหญ่ๆเขาไม่แสดง

2. ตั้งสำรอง ผมเข้าใจว่าเป็นตัวเลขทางบัญชีเฉยๆ เพราะใน CFO มีการบวกกลับ

ถ้าเป็นหุ้นกลุ่มอื่นๆ ก็ไม่ได้ติดใจอะไร

แต่กลุ่มธนาคาร มีการเอาตั้งสำรองสะสมมาคิดเป็น Coverage Ratio

เลยสงสัยว่าตัวเลขทางบัญชี ไม่ใช่เงินสด เอามาคิดรวมสะสมได้ไง

คือด้วยความที่เป็นตัวเลขทางบัญชี ส่วนที่เป็นของปีก่อนๆ เขาก็ไม่น่ากันเงินสดไว้ต่างหากนะ

ถ้ามีคลิปไหนอธิบายเรื่องนี้ละเอียด แปะคลิปไว้ได้นะครับ ถามเยอะมากเกรงใจอาจารย์ครับ

(อ.บอก ถามมาขนาดนี้ไม่ต้องบอกว่าเกรงใจดีกว่า 555)


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1516
 
Posted by: @pongpisut-khrutmuang

ขอบคุณล่วงหน้าครับ ขอรบกวนถามเพิ่มนะครับ

1. current loan (หนี้ที่จะจ่ายหมดปีนี้) นี่ดูตรงไหนครับ หรือแบงค์ใหญ่ๆเขาไม่แสดง

2. ตั้งสำรอง ผมเข้าใจว่าเป็นตัวเลขทางบัญชีเฉยๆ เพราะใน CFO มีการบวกกลับ

ถ้าเป็นหุ้นกลุ่มอื่นๆ ก็ไม่ได้ติดใจอะไร

แต่กลุ่มธนาคาร มีการเอาตั้งสำรองสะสมมาคิดเป็น Coverage Ratio

เลยสงสัยว่าตัวเลขทางบัญชี ไม่ใช่เงินสด เอามาคิดรวมสะสมได้ไง

คือด้วยความที่เป็นตัวเลขทางบัญชี ส่วนที่เป็นของปีก่อนๆ เขาก็ไม่น่ากันเงินสดไว้ต่างหากนะ

ถ้ามีคลิปไหนอธิบายเรื่องนี้ละเอียด แปะคลิปไว้ได้นะครับ ถามเยอะมากเกรงใจอาจารย์ครับ

(อ.บอก ถามมาขนาดนี้ไม่ต้องบอกว่าเกรงใจดีกว่า 555)

1. น่าจะมีนะครับ แต่ไม่มั่นใจเพราะไม่ได้อัพเดทงบแบงค์มา 2 ปีละ 555+ ตั้งแต่ ซื้อ และขายไปก็ไม่ได้ตามละตัวเลขเยอะเหนื่อยตาม

2. เงินตั้งสำรองในแต่ละไตรมาสเรียกว่า ECL 

ECL สะสมเรียกว่า Provision

Coverage Ratio = Provision / NPL ถูกแล้วครับ

provision มันจะประกบกันกับ NPL เสมอ 

หากเมื่อไหร่ที่ Write-off ก็จะสามารถตัด NPL + provision ออกไปเท่ากันพอดี provision จึงจะลดลง

ลองดูในคลิป ep ล่าสุดเพิ่งโพสต์เมื่อวานเลยครับ น่าจะพอเห็นภาพเพิ่มขึ้น


   
ReplyQuote
(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
Topic starter  

ถ้าหมายถึงคลิป "EP113 NPL เพิ่มเท่าตัว" เดี๋ยวจะกลับไปดูอีกรอบนะครับ

ตอนนี้จากที่เคยคิดว่าเข้าใจเรื่องการตั้งสำรอง ผมคิดว่าผมไม่เข้าใจแล้วครับ 555

ขอกลับไปดูคลิป เรียบเรียงคำถามแล้วจะมาถามใหม่นะครับ

เมื่อวานก่อนดูคลิป EP115 ตอนท้ายคลิปที่ อ. บอกเคยสอนเรื่องการลงทุนฟรีๆที่บริษัท

ผมเคยสอนน้องๆในแผนกเรื่องวางแผนภาษี

สอนให้ฟรีๆ บทสรุปเหมือนกันเลยฮะ สอนได้ 2-3 ครั้งหายเรียบ 5555


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1516
 
Posted by: @pongpisut-khrutmuang

ถ้าหมายถึงคลิป "EP113 NPL เพิ่มเท่าตัว" เดี๋ยวจะกลับไปดูอีกรอบนะครับ

ตอนนี้จากที่เคยคิดว่าเข้าใจเรื่องการตั้งสำรอง ผมคิดว่าผมไม่เข้าใจแล้วครับ 555

ขอกลับไปดูคลิป เรียบเรียงคำถามแล้วจะมาถามใหม่นะครับ

เมื่อวานก่อนดูคลิป EP115 ตอนท้ายคลิปที่ อ. บอกเคยสอนเรื่องการลงทุนฟรีๆที่บริษัท

ผมเคยสอนน้องๆในแผนกเรื่องวางแผนภาษี

สอนให้ฟรีๆ บทสรุปเหมือนกันเลยฮะ สอนได้ 2-3 ครั้งหายเรียบ 5555

สุดท้ายเลยได้เรียนรู้ชีวิตคนแทน 555+


   
ReplyQuote
(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
Topic starter  

เมื่อศิษย์พร้อม อาจารย์จะปรากฏตัวครับพี่


   
ReplyQuote
(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
Topic starter  

ดูคลิป EP113 จบรอบที่สองแล้วครับ เรื่องที่ผมสงสัยเป็นเรื่องที่เบสิคกว่าในคลิป ต้องกลับมารบกวนแล้วครับ

แต่ก่อนอื่น เพลงหัวใจกระดาษเป็นเพลงของพี่อู๋ ธรรพ์ณธร ไม่ใช่ของพี่เสือนะครับ คุณเบิร์ดไม่ช่วยแก้เลย 5555

.

คำถามที่ 1. เรื่องตั้งสำรอง เนื่องจากในงบ CFO มีการเอาตัวเลขตั้งสำรองบวกกลับไป

ความเข้าใจผมคือ ตั้งสำรองควรเป็นตัวเลขทางบัญชี ที่ทางบริษัทไม่ได้กันเงินสดออกมา

เป็นการตั้งลมๆ (คล้ายๆกับการบันทึกกำไรลมๆ) เข้าใจถูกมั๊ยครับ

.

คำถามที่ 2. จุดประสงค์ของการตั้งสำรองคือ เพื่อบอกว่าในงบมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นนะ

ในกรณีบริษัททั่วๆไปก็เช่น เก็บเงินลูกค้าไม่ได้

ไม่ได้ทำเพื่อกันเงินสดจริงๆออกมาป้องกันไม่ให้บริษัทจะล้ม ตรงนี้เข้าใจถูกมั๊ยครับ

.

คำถามที่ 3. Coverage Ratio

ถ้าคำถาม 1 กับ 2 ผมเข้าใจถูก (น่าจะถูกนะ 555)

ผมจะงงๆ ตรงการตั้งสำรองของธนาคาร

.

เพราะบริษัททั่วๆไป นานๆจะมีตั้งสำรองหนนึง

จากนั้นจะแทงหนี้สูญ หรือ ไปตามเก็บคืนได้ ก็จบกันไป

.

แต่ธนาคาร (และบริษัทปล่อยกู้) มีตั้งสำรองสะสมด้วย

เข้าใจว่าเพราะธรรมชาติธุรกิจมีการปล่อยกู้ และ มีการเบี้ยวตลอดเวลา

จุดนี้เข้าใจได้

.

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก Coverage ratio คำนวณมาจากตั้งสำรองสะสม

และเรามอง Coverage ratio ว่ายิ่งมีสัดส่วนมาก ธนาคารยิ่งมีความสามารถ "เอา(หนี้สูญ)อยู่" มาก

ตรงนี้เลยดูแปลก เพราะเนื่องจากการตั้งสำรองเป็นตัวเลขทางบัญชี เป็นการตั้งลม ไม่ใช่เงินสด

ัCoverage ratio จึงไม่น่าจะทำให้มีความมั่นคง หรือ เอาอยู่ใดๆ

.

คำถามคือ ในเมื่อเป็นแบบนี้ทำไม เรา (และนักวิเคราะห์) ถึงยังต้องดู Coverage Ratio อยู่ล่ะครับ

.

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบนะครับ


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1516
 
Posted by: @pongpisut-khrutmuang

ดูคลิป EP113 จบรอบที่สองแล้วครับ เรื่องที่ผมสงสัยเป็นเรื่องที่เบสิคกว่าในคลิป ต้องกลับมารบกวนแล้วครับ

แต่ก่อนอื่น เพลงหัวใจกระดาษเป็นเพลงของพี่อู๋ ธรรพ์ณธร ไม่ใช่ของพี่เสือนะครับ คุณเบิร์ดไม่ช่วยแก้เลย 5555

.

คำถามที่ 1. เรื่องตั้งสำรอง เนื่องจากในงบ CFO มีการเอาตัวเลขตั้งสำรองบวกกลับไป

ความเข้าใจผมคือ ตั้งสำรองควรเป็นตัวเลขทางบัญชี ที่ทางบริษัทไม่ได้กันเงินสดออกมา

เป็นการตั้งลมๆ (คล้ายๆกับการบันทึกกำไรลมๆ) เข้าใจถูกมั๊ยครับ

.

คำถามที่ 2. จุดประสงค์ของการตั้งสำรองคือ เพื่อบอกว่าในงบมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นนะ

ในกรณีบริษัททั่วๆไปก็เช่น เก็บเงินลูกค้าไม่ได้

ไม่ได้ทำเพื่อกันเงินสดจริงๆออกมาป้องกันไม่ให้บริษัทจะล้ม ตรงนี้เข้าใจถูกมั๊ยครับ

.

คำถามที่ 3. Coverage Ratio

ถ้าคำถาม 1 กับ 2 ผมเข้าใจถูก (น่าจะถูกนะ 555)

ผมจะงงๆ ตรงการตั้งสำรองของธนาคาร

.

เพราะบริษัททั่วๆไป นานๆจะมีตั้งสำรองหนนึง

จากนั้นจะแทงหนี้สูญ หรือ ไปตามเก็บคืนได้ ก็จบกันไป

.

แต่ธนาคาร (และบริษัทปล่อยกู้) มีตั้งสำรองสะสมด้วย

เข้าใจว่าเพราะธรรมชาติธุรกิจมีการปล่อยกู้ และ มีการเบี้ยวตลอดเวลา

จุดนี้เข้าใจได้

.

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก Coverage ratio คำนวณมาจากตั้งสำรองสะสม

และเรามอง Coverage ratio ว่ายิ่งมีสัดส่วนมาก ธนาคารยิ่งมีความสามารถ "เอา(หนี้สูญ)อยู่" มาก

ตรงนี้เลยดูแปลก เพราะเนื่องจากการตั้งสำรองเป็นตัวเลขทางบัญชี เป็นการตั้งลม ไม่ใช่เงินสด

ัCoverage ratio จึงไม่น่าจะทำให้มีความมั่นคง หรือ เอาอยู่ใดๆ

.

คำถามคือ ในเมื่อเป็นแบบนี้ทำไม เรา (และนักวิเคราะห์) ถึงยังต้องดู Coverage Ratio อยู่ล่ะครับ

.

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบนะครับ

1. ใช่ครับ

2. ใช่ค้าบ

3. จริงๆแล้ว coverage ratio มันแปลว่าถ้ามีมากๆ จะทำให้งบในอนาคต "สม่ำเสมอ" มากกว่านะ น่าจะหมายความว่าปลอดภัยในที่งบการเงินจะไม่ swing มากๆในอนาคตมากกว่ามั้ง เพราะถ้า cov ratio ต่ำมาก แปลว่า สมมุตินะ อย่างพี่เห็นแล้วว่าแนวโน้ม npl จะสูงขึ้น และ cov ratio ต่ำมาก แปลว่า "ไม่เหลือ Cushion" อีกแล้ว นั่นแปลว่าการตั้งสำรองฯครั้งต่อไปจะต้องตั้งตามจริง และเยอะมากๆ ซึ่งจะทำให้งบกำไรออกมาแย่ได้ ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่ดูบรรทัดกำไรเป็นสำคัญนะ ยกตัวอย่าง ตอนที่ kbank ตั้งสำรองเยอะตอน Q2/2020 ราคาหุ้นดิ่งเหวทันที เพราะตลาดก็กังวลว่าแกต้องเห็นตัวเลขอะไรไม่ดีแน่ๆ เป็นต้น แต่.. หลังจากนั้น พี่ตามตัวเลข npl แล้วพบว่า เห้ย ตั้งสำรองมากเกินไป แต่ NPL จะไม่แย่อย่างที่ตั้งสำรองฯ นั่นแปลว่า cov ratio เยอะมาก จนสามารถ cover npl ในอนาคตได้หมด ดังนั้น พี่จึงตัดสินใจลงทุน kbank เนื่องจากมั่นใจว่าในอนาคต kbank ต้องตั้งสำรองน้อยลงมากๆ ซึ่งแน่นอน จะทำให้ "กำไรสุทธิ" สูงมาก และราคาหุ้นก็จะสะท้อน "ความสบายใจของนักลงทุน" ว่า แกตั้งน้อย แปลว่ามันคงไม่แย่อย่างที่คิดเป็นต้น ดังนั้น ในมุมมองของพี่การมี cov ratio สูง จะมี "โอกาส" ที่จะเกิดเหตุการณ์ "ดีกว่าคาด" ได้ และราคาหุ้นจะพุ่ง ในขณะที่ การมี cov ratio ต่ำ จะมี "โอกาส" ที่จะเกิดเหตุการณ์ "แย่กว่าคาด" ได้ และราคาหุ้นจะร่วงหนักๆ

แต่เรื่องการตั้งสำรองฯ พี่ว่ามันอยู่ที่นโยบายผู้บริหารล้วนๆเลย จะสังเกตได้ว่าแต่ละแบงค์ก็จะมีนโยบายต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น scb ก็จะเน้นตั้งแต่ละไตรมาสสม่ำเสมอ แต่ kbank นี่ไม่เลย ถ้าเห็นสถานการณ์อะไรไม่ชอบมาพากลแกก็ตั้งเผื่อเยอะๆไว้ก่อนเลย 


   
ReplyQuote
(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
Topic starter  

ขอบคุณมากครับ

อ่านแล้วต้องรีบกลับไปทำการบ้าน KBANK เลยครับ


   
ReplyQuote
Share:
Protected by CleanTalk Anti-Spam