Forum

Notifications
Clear all

พี่พาสครับ รบกวนสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลใน opp day ของ MTC นิดนึงครับ


(@babybossy18)
Active Member
Joined: 3 years ago
Posts: 11
Topic starter  

1. เดิมที่ใน opp day ของ MTC ปี 2018 Q1 อ่ะครับ การคิด credit cost ของเขาใช้สูตรว่า"allowance for doubtful accounts to NPL ratio" ซึ่งผมลองคำนวณเองก็ได้ตรงกับที่เขาคำนวณอยู่ครับ แต่ตั้งแต่ opp day ปี 2018 Q2 สูตรของ credit cost ของเค้าเปลี่ยนเป็น"(bad debt + doubtful account)/loan receivables less unearned finance income" ซึ่งค่าที่ได้มันเปลี่ยนไปในทางต่ำลงหมด แล้วผมลองคำนวณเองแล้วไม่ได้ตรงกับเค้า เลยอยากทราบว่า credit cost ใหม่ของเขา คำนวณจากอะไรอ่ะครับ แล้วมันทำไมถึงเปลี่ยนไปตอน Q2 ปี 2018

2. credit cost นิยามของมันจริงๆ คืออะไรกันแน่ครับ แล้วแนวโน้มของมันยิ่งน้อยยิ่งดีใช่มั้ยครับ ที่ดีควรประมาณเท่าไหร่หรอครับ สำหรับหุ้น non-bank 

3. doubtful account คืออะไรหรอครับ ทำไมมันถึงติดลบได้หรอครับ ผมเข้าใจว่ามันคือ หนี้ที่สงสัยจะสูญ ที่มีแพลนว่าจะ write off ถูกมั้ยครับ ถ้าไม่ถูกรบกวนพี่พาสช่วยอธิบายให้ฟังฟน่อยครับ ผมปวดใจเลย

4. ในปี 2020 เหมือนกับ doubtful account อยู่ปีเดียวเลยครับ ผมเข้าใจว่าเกิดจากที่เค้า write off หนี้เสียไปเยอะเผื่อไว้รึเปล่าครับ ถ้าไม่ใช่ มันแปลว่าอะไรหรอครับ เพราะปกติผมเห็นปีอื่นเป็น + ทุกปีเลยครับ

ผมมีไฟล์รูปภาพและข้อมูลประกอบคำถามด้วยนะครับ รบกวนพี่พาสช่วยผมด้วยครับ มือใหม่หัดแกะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับพี่พาส

เมตตาลูกศิษย์ด้วยครับ


   
Quote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1503
 
Posted by: @babybossy18

1. เดิมที่ใน opp day ของ MTC ปี 2018 Q1 อ่ะครับ การคิด credit cost ของเขาใช้สูตรว่า"allowance for doubtful accounts to NPL ratio" ซึ่งผมลองคำนวณเองก็ได้ตรงกับที่เขาคำนวณอยู่ครับ แต่ตั้งแต่ opp day ปี 2018 Q2 สูตรของ credit cost ของเค้าเปลี่ยนเป็น"(bad debt + doubtful account)/loan receivables less unearned finance income" ซึ่งค่าที่ได้มันเปลี่ยนไปในทางต่ำลงหมด แล้วผมลองคำนวณเองแล้วไม่ได้ตรงกับเค้า เลยอยากทราบว่า credit cost ใหม่ของเขา คำนวณจากอะไรอ่ะครับ แล้วมันทำไมถึงเปลี่ยนไปตอน Q2 ปี 2018

2. credit cost นิยามของมันจริงๆ คืออะไรกันแน่ครับ แล้วแนวโน้มของมันยิ่งน้อยยิ่งดีใช่มั้ยครับ ที่ดีควรประมาณเท่าไหร่หรอครับ สำหรับหุ้น non-bank 

3. doubtful account คืออะไรหรอครับ ทำไมมันถึงติดลบได้หรอครับ ผมเข้าใจว่ามันคือ หนี้ที่สงสัยจะสูญ ที่มีแพลนว่าจะ write off ถูกมั้ยครับ ถ้าไม่ถูกรบกวนพี่พาสช่วยอธิบายให้ฟังฟน่อยครับ ผมปวดใจเลย

4. ในปี 2020 เหมือนกับ doubtful account อยู่ปีเดียวเลยครับ ผมเข้าใจว่าเกิดจากที่เค้า write off หนี้เสียไปเยอะเผื่อไว้รึเปล่าครับ ถ้าไม่ใช่ มันแปลว่าอะไรหรอครับ เพราะปกติผมเห็นปีอื่นเป็น + ทุกปีเลยครับ

ผมมีไฟล์รูปภาพและข้อมูลประกอบคำถามด้วยนะครับ รบกวนพี่พาสช่วยผมด้วยครับ มือใหม่หัดแกะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับพี่พาส

เมตตาลูกศิษย์ด้วยครับ

1. สูตรใหม่ ตัวหารเปลี่ยนไปครับ คือเอาลูกหนี้ทั้งหมด หักออกด้วย ดอกเบี้ยคงค้างครับ คือในงบการเงินนั้นส่วนของ "ลูกหนี้" จะมี 2 ส่วนประกอบกันครับ 1. คือ ลูกหนี้คงค้าง และ 2. ดอกเบี้ยค้างรับ ครับ ซึ่งตัวดอกเบี้ยคงค้างนี้ เป็นของลูกค้าที่ยังไม่ได้จ่ายชำระเข้ามา ดังนั้น บริษัทจึงไม่นำมารวมคำนวณด้วยครับ เพราะดอกเบี้ยค้างรับนี้ อาจจะมีบางรายการที่ชำระล่าช้า หรือสุดท้ายอาจจะกลายเป็น NPL ได้ครับ 

แต่เรื่องการคำนวณ Credit Cost ถ้าเอาตามหลักการเลยก็คือ Provision / Total Loan ครับ แต่อย่างที่ผมเคยพูดไปตอนสอนครับว่า Financial Ratio เนี่ย ค่าบางค่ามัน "บิด" ได้ครับ มันขึ้นอยู่กับมุมมองครับ ว่าคนมองเนี่ย Aggressive หรือ Conservative มากกว่ากัน ถ้า Conservative เราก็จะเอาตัวเลขใหญ่ๆมาคำนวณ ถ้าเรา Aggressive เราก็จะเอาตัวเลขเล็กลงมาคำนวณ เพื่อให้ได้ความแม่นยำมากขึ้นนั่นเอง

แต่ส่วนตัวผมจะไม่ค่อยซีเรียสมากครับ เพราะค่าเหล่านี้หลักๆเราเอาไว้ดู Trend เป็นสำคัญมากกว่าที่จะดูว่าตัวเลขเป๊ะๆมันคืออะไรครับ ส่วนตัวผมก็ใช้ Provision / Total Loan เหมือนเดิมครับ เพราะในเมื่อ NPL ผมใช้ตัวหารคือ Total Loan ผมว่าผมก็ควรใช้ตัวหารเดียวกันเพื่อเปรียบเทียบกันได้ครับ และใช่ครับ Credit Cost ลดลงย่อมดีครับ เพราะแปลว่าบริษัทคุมหนี้เสียได้ดีขึ้นนั่นเองครับ เพราะใน Provision นั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกันคือ 1. สำรองตามกฎหมาย 2. สำรองตามความเห็นผู้บริหาร จะเป็นส่วนเพิ่ม 

2. Credit Cost มันคือต้นทุนอีกหนึ่งตัวที่สำคัญมากๆสำหรับธุรกิจไฟแนนซ์ทั้งหมดครับ เนื่องจากเป็นการคำนวนจาก "Provision" หรือการตั้งค่าสำรองหนี้เสีย ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สำคัญอีก 1 ตัว นอกเหนือจากดอกเบี้ยจ่ายเลยครับ จึงจำเป็นต้องนำมารวมด้วย 

3. doubtful account ก็คือหนี้สงสัยจะสูญ ถูกต้องแล้วครับ เป็นส่วนหนึ่งของ NPL ครับ แต่ไม่จำเป็นต้องกำลัง write off ครับ หนี้สูญเท่านั้นที่บริษัทจะ write off ครับ การที่ doubtful account ติดลบเนื่องจากปริมาณหนี้สงสัยจะสูญลดลง มี 3 เหตุผลครับ 1. write off 2. ลูกหนี้ในกลุ่มนี้มีการชำระเงินเข้ามาครับ 3. อาจมีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ครับ

4. เรื่อง doubtful อธิบายไปในข้อ 3 บ้างแล้วนะครับ การที่บัญชีหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นก็เป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจครับ เพราะบริษัทขยายฐานลูกหนี้เพิ่มขึ้น ก็ต้องมีปริมาณลูกหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นถูกไหมครับ แต่ปี 20 นั้นก็อย่างที่เราเห็นว่าแบงค์ชาติมีนโยบายพักชำระหนี้ ซึ่งลูกหนี้กลุ่มนี้จะไม่ถูกนำไปคิดเป็น NPL ด้วยส่วนหนึ่ง และบริษัทมีการ write off เยอะด้วยอีกส่วนนึงครับ จึงทำให้ปริมาณ doubtful ลดลงมากนั่นเองครับ

ลงรายละเอียดได้ดีมากๆเลยครับ แต่ก็อย่าลืมมองภาพกว้างๆด้วยนะครับ 

การลงรายละเอียด เราจะต้องก้มมากๆเพื่อมาจดจ่ออยู่กับอะไรอย่างหนึ่ง หรือจุดๆหนึ่งในภาพใหญ่ๆภาพนึง หรือจิ๊กซอตัวนึง อาจทำให้พลาดความเข้าใจในภาพใหญ่ได้เช่นกันนะครับ 😉

การมองภาพใหญ่จะทำให้เราเข้าใจโครงสร้าง concept ที่มาที่ไปมากขึ้นครับ บางค่าผมว่าผมก็ไม่ได้ซีเรียสมากนะครับ คือเราก็ดูแนวโน้มเป็นหลัก สุดท้ายแล้ว ถ้าบริษัทสามารถสร้างการเติบโตได้ตามเป้าหมาย ควบคุมค่าใช้จ่าย และหนี้เสียได้ตามเป้า ก็จบครับ

ถ้าเราเข้าใจรายละเอียดมากๆ แต่สุดท้ายบริษัทไม่สามารถทำยอดขายได้ตามเป้า ทุกอย่างก็ปัง.. อยู่ดีครับ ไม่ใช่ปังปุริเย่นะครับ ปังปิ๊นาส 55+

เรื่องวิธีการคำนวณที่เปลี่ยนแปลงไป หากเราเข้าใจหลักการ และ concept เราก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงตามเค้าก็ได้ครับ การเปลี่ยนแปลงของเค้ามันคือการเปลี่ยนแปลงมุมมองเท่านั้นครับ


   
ReplyQuote
(@babybossy18)
Active Member
Joined: 3 years ago
Posts: 11
Topic starter  

@prapas-b88 ขอบคุณมากครับพี่พาส กราบครับ 😍 


   
ReplyQuote
Share:
Protected by CleanTalk Anti-Spam