Forum

DIF


(@sirimonporn-suriyawongpaisal)
Reputable Member
Joined: 3 years ago
Posts: 163
Topic starter  

DIF ทุน 15.09 -20%

รายการ3 ศาสตร์ .ให้คะแนน2 เต็ม3 และบอกว่าคนที่ขาดทุนควรถัว

อาจรย์เคยบอกว่าต้องถัวด้วยเงินเท่ากับต้นทุน แต่ไม่มีเงิน ต้องขายเยอะเลย(เกือบ6แสน)

คำถาม

ยังควรถัวมั้ยคะ

ถ้าถือแบบนี้ไปเรื่อยๆ รอราคากลับไป (รายการ3 ศาสตร์ .ให้เป้าหมาย16 บาท)คอยรับปันผล ก็ไม่รู้นานแค่ไหน

ไม่เข้าใจเรื่องการหมดอายุกองทุน ปันผลไม่คุ้มกับเงินต้นที่จะไม่ได้คืนหรือไม่คะ

 


   
Quote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1503
 
Posted by: @sirimonporn-suriyawongpaisal

ยังควรถัวมั้ยคะ

คือ ต้นทุนเดิมน่าจะซื้อไว้แถวๆ Fair Value ครับพี่ปุ๊ ถ้าต้องการลงทุนใน DIF เพื่อปันผล และผลตอบแทนระยะยาวสัก 5-8% ต่อปี ยังไงก็ควรถัวครับ แต่ถ้าพี่ปุ๊คาดหวังผลตอบแทนมากกว่านั้นก็คงต้องขายแล้ว Switch ไปลงทุนในหุ้นแทนรึเปล่าครับ

Posted by: @sirimonporn-suriyawongpaisal

ไม่เข้าใจเรื่องการหมดอายุกองทุน ปันผลไม่คุ้มกับเงินต้นที่จะไม่ได้คืนหรือไม่คะ

เรื่องนี้ต้องศึกษาเอกสารของกองทุนครับพี่ปุ๊ สำคัญมากๆสำหรับกองทุนอสังหาฯ, REIT และ IF เลยครับ ถ้าไม่เข้าใจเรื่องนี้ลงทุนจะเสี่ยงมากๆเลยครับ เสี่ยงมากกว่าหุ้นเสียอีก เพราะสินทรัพย์มีอายุจำกัดนั่นเอง


   
ReplyQuote
(@sirimonporn-suriyawongpaisal)
Reputable Member
Joined: 3 years ago
Posts: 163
Topic starter  

ขอบคุณมากค่ะ

โดยทั่วไปราคาเป้าหมายมี่โบรกให้มักจะไปถึงไหมคะ

และถึงในเวลานานเท่าไหร่คะ

28พค62 SCBS: มีราคาเป้าหมายอ้างอิงวิธี DCFที่17.5บาท (17พค62:16.70บาท 23 สิงหา 62:18บาท)

11 กพ 64 KS :มีราคาเป้าหมายอ้างอิงวิธี DCFปี2564 ที่16.23บาท

 

 


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1503
 
Posted by: @sirimonporn-suriyawongpaisal

ขอบคุณมากค่ะ

โดยทั่วไปราคาเป้าหมายมี่โบรกให้มักจะไปถึงไหมคะ

และถึงในเวลานานเท่าไหร่คะ

28พค62 SCBS: มีราคาเป้าหมายอ้างอิงวิธี DCFที่17.5บาท (17พค62:16.70บาท 23 สิงหา 62:18บาท)

11 กพ 64 KS :มีราคาเป้าหมายอ้างอิงวิธี DCFปี2564 ที่16.23บาท

 

 

เรื่องราคาเป้าหมายโบรก เป็นเรื่องพิศวงมากๆครับพี่ปุ๊ 55+ คือมีทั้งไปถึง+ทะลุ หรือไปไม่ถึงแล้วโบรกปรับเป้าลงมาเองก็ได้ครับ 

มันขึ้นอยู่กับมุมมองของเค้าในอนาคตครับ ซึ่งอนาคตเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอครับ

ปกติเป้าหมายที่ตั้งไว้จะมีกรอบระยะเวลาประมาณ 1 ปีครับ ผมว่าคงต้องลองมองย้อนหลังดูครับว่าปีที่แล้วเค้าให้เป้าเท่าไหร่ แล้วผ่านมา 1 ปีแล้วมันไปถึงไหมครับ

ผมเองไม่เคยใส่ใจกับเป้าของโบรกมาเป็น 10 ปีแล้วครับพี่ปุ๊ ก็เลยไม่ได้ติดตามมากครับ เพราะในอดีตสมัยเริ่มลงทุนใหม่ๆ เคยลองลงทุนตามเป้าหมายของโบรกแล้วขาดทุนยับ ก็เลยเลิกดุครับ 55+

 


   
ReplyQuote
(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
 

สวัสดีครับ พอดีเพิ่งได้ดูรายการ 3 ศาสตร์ที่พูดถึง DIF ขออนุญาตสรุปมาแบ่งปันนะครับ ถ้าตรงไหนผมเข้าใจผิดก็ทักได้ครับ

.
1. กองทุนรวม DIF เป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) จัดเป็นกองทุนปิด แต่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดหุ้น
 
DIF เกิดจากการที่ TRUE ต้องการเงินเพื่อไปลงทุนต่อ ดังนั้น TRUE จึงร่วมกับ บลจ.ไทยพาณิชย์จัดตั้งกองทุน DIF ขึ้นมา โดยให้ บล.ไทยพาณิชย์บริหารกองทุน แล้วระดมทุนด้วยการขายหน่วยลงทุนในประชาชนทั่วไป จากนั้นเอาเงินที่ได้ มาซื้อ “สิทธิ” ในการเก็บค่าเช่าเครือข่ายเสาสัญญาณ และสายไฟเบอร์ออพติค จาก TRUE
 
โดยหลังจากซื้อ “สิทธิ” ที่ว่าแล้ว DIF ก็จะมีรายได้จากการเก็บค่าเช่าจาก TRUE นั่นเอง
.
พูดง่ายๆคือทุกวันนี้ TRUE ต้องจ่ายค่าเช่าเสาสัญญาณ และ สายไฟเบอร์ออพติค ให้กับทาง DIF และ DIF ก็เอารายได้นั้นมาปันผลให้กับคนที่ถือหน่วย ที่ผ่านมาก็ถือว่าปันผลสูงอยู่คือปีละประมาณ 1 บาทนิดๆ (กฏหมายกำหนดให้กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน จ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 90%ของกำไร) ราคาหน่วยลงทุนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 12-13 บาท (เนื่องจากซื้อขายในตลาดหุ้นจะมองว่าเป็นราคาหุ้นก็ได้) เท่ากับว่าจะได้ปันผลถึง 8% กว่าๆเลยทีเดียว
.
ในส่วนของผู้ถือหน่วย ตัวกองทุน DIF นี่ก็จะมีคนทั่วไป รวมไปถึงบริษัท และ องค์กรณ์ต่างๆเข้ามาถือหน่วย โดยมี TRUE ถือมากสุดที่ 23-24% โดยตามกฏหมาย เจ้าของเก่าต้องถือขั้นต่ำ 8% แต่ไม่เกิน 30% และ เมื่อกองทุนอายุครบ 10 ปี ในปี พ.ศ.2566 เจ้าของเก่าสามารถขายได้ทั้งหมด คือ TRUE ไม่ต้องถือแล้วก็ได้
.
2. DIF จัดเป็นกอง Free Hold (ถือสิทธิความเป็นเจ้าของ) ตรงนี้อาจจะดูงงๆ เพราะ DIF ซื้อ “สิทธิในการเก็บค่าเช่า” มันควรจะเป็น Lease Hold สิ
 
แต่ทว่าตอนที่ DIF ซื้อสิทธิการเช่ามานั้น DIF ได้สิทธิในการซื้อทรัพย์สิน (Call Option) มาด้วย ทำให้ในทางปฏิบัติมันคือกอง Free Hold ที่ดูไม่เหมือน Free Hold
 
สาเหตุที่ต้องทำแบบนี้เพราะมี เสา/สาย บางส่วน TRUE ได้สิทธิการซื้อมาจาก กสท. (CAT) ซึ่งพอ TRUE ยังไม่ได้เป็นเจ้าของจริงๆ ก็ไม่สามารถขายให้ได้ เลยต้องขายให้เป็นสิทธิในการซื้อ
 
กลับมาที่เรื่อง Free Hold กับ Lease Hold เรื่องนี้ทำให้หลายคนไม่ค่อยกล้าซื้อ DIF เพราะดูไม่ออก คือถ้าเป็น Lease Hold เมื่อครบระยะเวลาที่สิทธิในการเช่าหมดลง หน่วยลงทุนจะมีมูลค่าเหลือ 0 บาท แต่กรณีนี้สรุปว่า DIF เป็น Free Hold
.
3. ถึงจะเป็น Free Hold แต่ทว่าสัญญาเช่าของ TRUE กับ DIF จะหมดลงในปี พ.ศ. 2576 (ค.ศ.2033 หรือ 12 ปีข้างหน้า) ซึ่งถ้าไม่มีการต่อสัญญาเช่า ก็เท่ากับว่า DIF จะไม่มีรายได้ ราคาหน่วยลงทุนก็คงแทบจะไม่มีมูลค่าเหมือนกันนะ
 
อย่างไรก็ตามโอกาสที่จะไม่ต่อสัญญาเช่านั้นค่อนข้างน้อยมาก ซึ่งในรายการบอกว่าส่วนของสายไฟเบอร์นั้นน่าจะต่อสัญญาค่อนข้างแน่ แต่ในส่วนของเสาสัญญาณอาจจะมีการต่อรอง เพื่อขอลดราคาค่าเช่าลง
 
ซึ่งหลังจากปี พ.ศ. 2576 (ค.ศ.2033) ไปแล้วสัญญาเช่าก็จะต่อกันทุกๆ 10 ปี
.
4. DIF มีลูกค้าเจ้าเดียวคือ TRUE และปัจจุบัน TRUE ก็ไม่ได้เช่าเครือข่ายเสาและสายของ DIF เต็มทั้งหมด 100% นะครับ โดยเช่าอยู่ที่ 75% โดยตอนแรกนั้นคาดว่าจะมีเจ้าอื่น (เช่น DTAC) เข้ามาเช่าอีก 25% ที่เหลือ ทำให้ราคาวิ่งไปถึง 18 บาท แต่เอาจริงๆดันไม่มีใครมาเช่าเพิ่ม ราคาเลยย่อลงมาเหลือ 12-13 บาทในปัจจุบัน
 
แต่โอกาสที่ TRUE จะหนีไปเช่าโครงข่ายก็เจ้าอื่นก็น้อยมากนะ ในรายการเอาราคาค่าเช่ามาให้ดู จะเห็นว่าค่าเช่าที่ DIF คิดนั้นค่อนข้างถูกกว่าเจ้าอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้ถูกจนน่าเกลียด แบบที่ทำให้คนที่ถือ DIF ถึงขั้นเสียผลประโยชน์
.
5. ในส่วนของคาดการณ์เงินปันผลนั้น ในรายการค่อนข้างมั่นใจว่าทาง DIF สามารถจ่ายในเรต 1 บาทนิดๆต่อปีได้จนถึงการต่อสัญญาครั้งหน้า ในปี พ.ศ.2576 (ค.ศ.2033) แต่หลังจากนั้นอาจจะมีการขอต่อรองลดราคาค่าเช่าเสาสัญญาณ และ การจ่ายคืนหนี้ที่ไปกู้มาซื้อโครงข่าย ปันผลก็อาจจะลดลงเหลือราวๆ 0.8-0.9 บาทต่อปี
.
6. ผลตอบแทน ในรายการสรุปไว้ 2 แบบ คือ คิดลดกระแสเงินสด (DCF – อธิบายแบบง่ายๆได้ว่า เป็นการเอารายได้ในอนาคตทั้งหมดรวมกันแล้วปรับค่าเงินเฟ้อให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน) กับ คิดอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR – แปลง่ายๆว่าอัตราผลตอบแทนต่อปีเป็น % ที่ปรับค่าเงินเฟ้อแล้ว)
.
โดยวิธี DCF ในกรณีที่เราซื้อ DIF แล้วถือจนถึงปี พ.ศ. 2589 (ค.ศ. 2046) จะได้เงินปันผลที่ปรับเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว ที่ได้แหงๆคือ 13-14 บาท ส่วนอีก 4.9 บาทนั้นอาจจะได้เต็มที่หรือลดเหลือ 2-3 บาทก็เป็นได้ รวมมากสุดที่คิดว่าจะได้คือ 16.23 บาท อันนี้ยังไม่ได้คิดว่าขายหน่วยลงทุนได้ตังค์เข้ามาอีกต่างหากนะครับ คิดแค่ปันผลอย่างเดียว
.
ส่วนวิธี IRR นั้น เขาคิดว่าถ้าเราถือหน่วยลงทุนจนถึงปีนั้นๆแล้วเกิดการไม่ต่อสัญญา มูลค่าหน่วยลดลงเหลือ 0 จะได้อัตราผลตอบแทนเท่าไหร่
ถ้าถือตั้งแต่ ปัจจุบัน พ.ศ. 2564 – 2576 (ค.ศ. 2021 – 2033) จะได้ปันผลตอบแทนตกปีละ 0.65%
ปี พ.ศ. 2577 – พ.ศ. 2586 (ค.ศ. 2034 – 2043) จะได้ปันผลตอบแทนตกปีละ 4.85%
ปี พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2044) เป็นต้นไป ได้ 2.06%
รวมทั้งหมดได้ผลตอบแทน 7.56% ต่อปี ถ้าถือยาวถึง 20 ปีข้างหน้านะครับ
ย้ำอีกครั้งว่า นี่คิดแค่ปันผลเนาะไม่ได้คิดว่าขายหน่วยลงทุนแล้วได้ตังค์เข้ามาอีก
.
7. ในรายการเขาสรุปว่าน่าซื้อนะ แต่ก็มีเรื่องที่น่าห่วงหลักๆเลยคือ ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้ ถ้าดอกเบี้ยนโยบายปรับเพิ่มขึ้น ตราสารหนี้ของบริษัทที่เกรดดีๆอาจจะน่าสนใจกว่า เช่น เกิดมีหุ้นกู้ CPALL ให้ดอก 5% ต่อปีอะไรแบบนี้ ก็จะดูน่าสนใจกว่า DIF เพราะเสี่ยงต่ำกว่าด้วย
 
และอีกเรื่องที่สำคัญคือ เรากำลังพูดถึงเรื่องเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การที่เราคิดว่าจะมีคนเช่าเครือข่ายเสาและสายพวกนี้ไปในระดับ 20 ปีบวกๆ มันก็น่าคิดนะว่าในระหว่างนั้นเราอาจจะมีเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ต้องใช้สายและเสาอีกแล้วหรือเปล่า ในช่วง 10-20 ปี อาจจะไม่ แต่ถ้ามากกว่านั้นก็ไม่แน่นะครับ
 
อ้างอิง ลิงก์รายการ 3 ศาสตร์ : https://www.youtube.com/watch?v=tsvw5G4F7Zs

(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1503
 

@pongpisut-khrutmuang เยี่ยมมากครับน้องก่อ จริงๆพี่ก็สนใจศึกษามาบ้างเหมือนกัน จริงๆก็ชอบนะครับราคาดูดีเลยตอนนี้ 😉


   
ReplyQuote
(@sirimonporn-suriyawongpaisal)
Reputable Member
Joined: 3 years ago
Posts: 163
Topic starter  

@pongpisut-khrutmuang ขอบคุณมากกกกกกจริงๆๆๆๆเลยยยยค่า  ยอดเยี่ยมจริงๆ

 

พี่ฟัง3รอบก็ยังไม่ค่อยเข้าใจชัดเจน ไปตามอ่านและฟังที่อื่นๆอีก ก็เห็นว่าพูดคลุมเคลือ หรือขัดแย้งกัน ฟันธงไม่ค่อยได้

สรุปคือ ได้ทำตามคำแนะนำของอาจารย์คือ อย่าลงทุนในสิ่งที่เราไม่รู้จริง แถมต้นทุนแพงถึง15.9

อ่านจากที่คุณPongpisutเขียนก็คิดว่าสมควรcut loss + switch

 


   
ReplyQuote
(@chut-nakornchai)
Eminent Member
Joined: 4 years ago
Posts: 25
 

ผมว่าความเสี่ยงหลักน่าจะเป็น technology disruption นี่แหละครับ ที่ทำให้ผมเลี่ยงการลงทุนกลุ่มนี้ เนื่องจากผมไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี 

อีก 10 ปี ไม่รู้ว่าตอนนั้นเสาสัญญาณจะยังมีความจำเป็น เหมือนในตอนนี้หรือเปล่า 
สมมติ Elon Musk เกิดทำให้ Starlink มี economy of scale แล้วราคาถูกลงมากๆ หรือมีเทคโนโลยีอะไรใหม่เกิดขึ้น ซึ่งมักเกิดขึ้นแบบเร็วจนไม่รู้ตัว

"สิ่งที่ถูกต้องคือถูกต้อง แม้ไม่มีใครทำสิ่งนั้น
สิ่งที่ผิดคือสิ่งที่ผิด แม้ทุกคนทำสิ่งนั้น"


(@sirimonporn-suriyawongpaisal)
Reputable Member
Joined: 3 years ago
Posts: 163
Topic starter  

หมอขัชหมายรวมถึงICT ทั้งหทดเช่นADVANCด้วยรึเปล่าคะ

อย่างที่มีคนบอกว่า

 

ฟังทางนี้ มือถือที่ยังไม่พัง ให้ชลอซื้อเครื่อง​ใหม่ในปี 2022

Satellite Cellulars หรือโทรศัพท์มือถือผ่านดาวเทียม กำลังจะมาฆ่าค่ายมือถือต่าง ๆ !!! ??? 😲😲😲

นับจากปี 2022 ไป ค่าย SpaceX ของลีออน มัสค์ เศรษฐีอันดับ 1 ของโลก ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เทสล่า ( Tesla ) จะเปิดให้บริการ โทรทัพท์มือถือผ่านดาวเทียม ( Satellite Cellular ) ที่ชื่อสตาร์ลิงค์ ( Starlinks ) มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก ความเร็วระดับมากกว่า 6G ที่ไม่ต้องพึ่งค่ายมือถือใด ๆ อีกต่อไป โดยคิดค่าบริการปีละครั้ง ในราคาที่ถูกมาก ๆ แค่ ประมาณปีละ $99 เรียกว่า ใช้ฟรีตลอดทั้งปี ที่สำคัญที่สุดคือ สัญญาณดีทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะอยู่ในบ้าน เมือง ในป่า หรือในหุบเขา !!

ปีหน้า ค่ายมือถือทุกค่าย ที่มีอยู่ทั่วโลก เตรียมตัวเจ้งได้ ถ้าไม่รีบปรับตัว !!!

เพราะ WiFi จะส่งตรงจากดาวเทียม ไม่ตรงจากค่ายมือถือ จากเสาสัญญาณโทรศัพท์ เหมือนในปัจจุบัน ทำให้สัญญาณรวดเร็วมาก ไวกว่าระบบ 6G !!!

ปี 2022 เป็นต้นไป Satellite Cellular จะเข้ามาเขี่ยค่ายมือถือทั้งหมดที่มีอยู่ เหมือน iPhone เกิดมาฆ่า
Nokia , Motorola และ อีกหลาย ๆ เจ้า ที่ปรับตัวไม่ทัน !!

นึกออกมั้ยครับ เหมือนเราไม่เคยโทรหากันผ่านเบอร์มือถือเลยในปัจจุบัน แค่มี WiFi เราก็ติดต่อกันได้แล้ว ผ่านไลน์ ผ่านเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม และอื่น ๆ สะดวกมาก แทบจะไม่ต้องพึ่งค่ายมือถือเลย ถ้ามี WiFi ครอบคลุมทุกพื้นที่ !!

ค่ายมือถือต่าง ๆ จะทะยอยปิดตัวลง ถ้าไม่ปรับตัว เหมือนผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้าน ที่ปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มีใครใช้บริการอีกเลย ยกเว้นบริษัทใหญ่ ๆ และสถานที่ราชการ !!

ในอนาคต โทรศัพท์มือถือ จะมีแค่โหมด WiFi และ WiFi Calling เท่านั้น เพราะเราจะสื่อสารกันผ่านช่องทาง WiFi calling และโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น !!

สิ่งที่เราทุกคนจะได้รับ นอกจากคลื่นสัญญาณ ( WiFi ) ที่รวดเร็วมาก ๆ แล้ว เรายังจะประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกมากในแต่ละเดือน 😲 !!

ต้องบอกว่า โลกแห่งเทคโนโลยี ไม่เคยหยุดนิ่งเลยจริง ๆ !! ✌️😃


   
ReplyQuote
(@sirimonporn-suriyawongpaisal)
Reputable Member
Joined: 3 years ago
Posts: 163
Topic starter  

นาทีที่ 22 ถึง 25 มีพูดถึงเรื่องsatellite cellular

https://youtu.be/h8WMsVwUvrQ


   
ReplyQuote
(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
 

ส่วนตัวผมมอง ADVANC ต่างจาก DIF นะครับ (ผมมี ADVANC ครับอาจจะมีไบแอส 5555)

 

ในขณะที่ DIF มีแต่เสากับสาย ไม่สามารถปรับไปทำอย่างอื่นได้ ถ้าเทคโนโลยีเปลี่ยน แต่ๆ

 

ADVANC เป็นบริษัทที่สามารถปรับตัวไปทำธุรกิจอย่างอื่นได้ และ ทางผู้บริหารก็ประกาศมาตั้งแต่ปีก่อนๆแล้วว่า เขาจะไม่เป็นแค่ผู้ให้บริการมือถืออีกต่อไป แต่จะเป็น Digital Platform ตรงนี้ก็เริ่มเห็นกันแล้ว เร็วๆนี้คือมีการจับมือกับ Disney+ และ Microsoft ส่วนตัวมองว่า ADVANC เขาเริ่มจะสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ๆแล้ว แบบที่ อ. เรียกว่าเครื่องยนต์

 

ในส่วนของเน็ตและโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม ช่วงก่อนตัดสินใจซื้อ ADVANC ผมทำการบ้านตรงนี้เยอะมาก สรุปได้ว่า อย่างน้อยๆ 10 ปีนี้ เน็ตและโทรศัพท์ดาวเทียมยังมีข้อเสียเปรียบ เมื่อเทียบกับเสาสัญญาณและสายเคเบิ้ลค่อนข้างเยอะ เช่น

 

1. ค่าบริการที่แพงกว่าเกือบ 5 เท่า (เน็ต Starlink เดือนละประมาณ 3,000 บาท)

 

2. ไม่สามารถรองรับพื้นที่ ที่มีคนใช้บริการหนาแน่นได้ ดังนั้นโมเดลธุรกิจของเน็ตดาวเทียมจึงมีเพื่อพื้นที่ที่เน็ตทั่วไปเข้าไม่ถึง

 

3. เน็ต/มือถือดาวเทียมไม่สามารถ ใช้งานได้ดีในที่ที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น ในตึก ตัวอาคาร

อันนี้เป็นข้อมูลวงในจากเพื่อนที่เคยทำงานให้บริษัทเน็ตดาวเทียมชื่อ Iridium (เจ๊งไปก่อน อีลอน จะทำสตาร์ลิงก์)

 

จริงอยู่ว่าข้อเสียพวกนี้ ในอีกไม่นานอาจจะมีพัฒนาได้ แต่ส่วนตัวคิดว่าในระหว่างนั้น ADVANC น่าจะมีเครื่องยนต์อื่นไปแล้ว

อันนี้จัดว่าเป็นความเสี่ยง ต้องคอยดู


(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1503
 
Posted by: @sirimonporn-suriyawongpaisal

หมอขัชหมายรวมถึงICT ทั้งหทดเช่นADVANCด้วยรึเปล่าคะ

อย่างที่มีคนบอกว่า

 

ฟังทางนี้ มือถือที่ยังไม่พัง ให้ชลอซื้อเครื่อง​ใหม่ในปี 2022

Satellite Cellulars หรือโทรศัพท์มือถือผ่านดาวเทียม กำลังจะมาฆ่าค่ายมือถือต่าง ๆ !!! ??? 😲😲😲

นับจากปี 2022 ไป ค่าย SpaceX ของลีออน มัสค์ เศรษฐีอันดับ 1 ของโลก ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เทสล่า ( Tesla ) จะเปิดให้บริการ โทรทัพท์มือถือผ่านดาวเทียม ( Satellite Cellular ) ที่ชื่อสตาร์ลิงค์ ( Starlinks ) มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก ความเร็วระดับมากกว่า 6G ที่ไม่ต้องพึ่งค่ายมือถือใด ๆ อีกต่อไป โดยคิดค่าบริการปีละครั้ง ในราคาที่ถูกมาก ๆ แค่ ประมาณปีละ $99 เรียกว่า ใช้ฟรีตลอดทั้งปี ที่สำคัญที่สุดคือ สัญญาณดีทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะอยู่ในบ้าน เมือง ในป่า หรือในหุบเขา !!

ปีหน้า ค่ายมือถือทุกค่าย ที่มีอยู่ทั่วโลก เตรียมตัวเจ้งได้ ถ้าไม่รีบปรับตัว !!!

เพราะ WiFi จะส่งตรงจากดาวเทียม ไม่ตรงจากค่ายมือถือ จากเสาสัญญาณโทรศัพท์ เหมือนในปัจจุบัน ทำให้สัญญาณรวดเร็วมาก ไวกว่าระบบ 6G !!!

ปี 2022 เป็นต้นไป Satellite Cellular จะเข้ามาเขี่ยค่ายมือถือทั้งหมดที่มีอยู่ เหมือน iPhone เกิดมาฆ่า
Nokia , Motorola และ อีกหลาย ๆ เจ้า ที่ปรับตัวไม่ทัน !!

นึกออกมั้ยครับ เหมือนเราไม่เคยโทรหากันผ่านเบอร์มือถือเลยในปัจจุบัน แค่มี WiFi เราก็ติดต่อกันได้แล้ว ผ่านไลน์ ผ่านเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม และอื่น ๆ สะดวกมาก แทบจะไม่ต้องพึ่งค่ายมือถือเลย ถ้ามี WiFi ครอบคลุมทุกพื้นที่ !!

ค่ายมือถือต่าง ๆ จะทะยอยปิดตัวลง ถ้าไม่ปรับตัว เหมือนผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้าน ที่ปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มีใครใช้บริการอีกเลย ยกเว้นบริษัทใหญ่ ๆ และสถานที่ราชการ !!

ในอนาคต โทรศัพท์มือถือ จะมีแค่โหมด WiFi และ WiFi Calling เท่านั้น เพราะเราจะสื่อสารกันผ่านช่องทาง WiFi calling และโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น !!

สิ่งที่เราทุกคนจะได้รับ นอกจากคลื่นสัญญาณ ( WiFi ) ที่รวดเร็วมาก ๆ แล้ว เรายังจะประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกมากในแต่ละเดือน 😲 !!

ต้องบอกว่า โลกแห่งเทคโนโลยี ไม่เคยหยุดนิ่งเลยจริง ๆ !! ✌️😃

พี่ปุ๊ได้เช็คข้อมูลแล้วรึยังครับ ว่าข้อความนี้มีความจริงอยู่กี่ % 

ข่าวทุกข่าวล้วนแล้วแต่ถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งสิ้นครับ 

ข่าวที่ดีคือข่าวที่สามารถทำให้คนอ่านรู้สึกตื่นเต้นได้

ผมแนะนำว่าเวลาฟังข่าวอะไร จากแหล่งไหนก็ตาม เราควรหาข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อ "โตแย้ง" เราก็จะเห็นมุมมองที่หลากหลายมากขึ้นครับ

เรื่องอินเตอร์เน็ตดาวเทียมจริงๆผมพูดหลายครั้งมากๆแล้วอ่ะครับ ว่าผมคิดว่าเป็นไปได้ยากมากเลยครับ สภาพภูมิศาสตร์เมืองไทย กับอเมริกาต่างกันมากๆ 


   
ReplyQuote
(@sirimonporn-suriyawongpaisal)
Reputable Member
Joined: 3 years ago
Posts: 163
Topic starter  

เข็คโดยฟังopp day ADVANC หลังโพสต์ไปแล้ว แหะๆ

นักเรียนคนนี้ต้องให้อาจารย์พูดย้ำราว100ครั้งค่อยจำได้ค่า ฮือๆ

 


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1503
 
Posted by: @sirimonporn-suriyawongpaisal

เข็คโดยฟังopp day ADVANC หลังโพสต์ไปแล้ว แหะๆ

นักเรียนคนนี้ต้องให้อาจารย์พูดย้ำราว100ครั้งค่อยจำได้ค่า ฮือๆ

 

555+ หลักๆมันไม่ใช่เรื่องจำได้ครับพี่ปุ๊ การลงทุนผมว่าไม่ได้ใช้ความจำมากนักครับ หลักๆเราจะใช้ Logic ค่อนข้างมากครับ เมื่อเราได้ข้อมูลอะไรมา คีย์คือเราต้องพยายาม "พิสูจน์" ครับ ว่าข้อมูลที่ได้รับมามีความถูกต้อง เป็นไปได้มากแค่ไหน 

และสำคัญที่สุดคือเราต้องเข้าใจธุรกิจมากๆครับ ว่า รายได้มาจากทางไหน ยังไง โครงสร้างต้นทุนเป็นอย่างไร มีอะไรเป็นปัจจัยสำคัญอะไรแบบนี้ครับ


   
ReplyQuote
(@sirimonporn-suriyawongpaisal)
Reputable Member
Joined: 3 years ago
Posts: 163
Topic starter  

56-1 ADVANC 4/3/2564

 

10. ความเสี่ยงจากสินค้าและบริการทดแทนที่อาจจะเกิดขึ้น
การเติบโตอย่างรวดเร็วของการบริการส่งผ่านข้อมูลในรูปแบบข้อความ เสียง
หรือภาพ ผ่านโครงข่ายอินเตอร์เน็ต (Over the Top – OTT) ทั้งในแง่ของผู้ให้
บริการที่ไม่ต้องลงทุนโครงข่ายสัญญาณเองท􀁎ำให้มีต้นทุนที่ต􀁎่ำกว่าในแง่ของการให้
บริการ และในแง่ของผู้บริโภคที่มีทางเลือกในการใช้บริการ หรือรับชมบริการจาก
OTT ได้หลากหลายโดยมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการที่ต􀁎่ำ หรือบางส่วนสามารถใช้
บริการได้ฟรี นอกจากนี้ แนวโน้มการเกิดขึ้นของการให้บริการในรูปแบบใหม่ๆ ที่
อาจจะสามารถมาทดแทนรูปแบบการให้บริการของบริษัท มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น
เช่น การให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการด􀁎ำเนิน
ธุรกิจของบริษัท ที่ต้องมีการลงทุนและพัฒนาด้านโครงข่ายตลอดเวลา รวมทั้ง
การพัฒนาและน􀁎ำเสนอสินค้าและบริการที่ยังสามารถสร้างรายได้และตอบสนอง
ความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ท􀁎ำให้บริษัทมีต้นทุนในการด􀁎ำเนินการ
สูงกว่าผู้ให้บริการ OTT และ/หรือ ผู้ให้บริการในรูปแบบใหม่ ซึ่งเอไอเอสมีแผน
จัดการความเสี่ยง ดังนี้
• ก􀁎ำหนดกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง
ของพฤติกรรมผู้บริโภคและเทคโนโลยี
• พัฒนาระบบโครงข่ายการให้บริการ ระบบการบริการลูกค้าและระบบสนับสนุน
ให้อยู่บนเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น คลาวด์เทคโนโลยี
• พัฒนาการเติบโตในธุรกิจลูกค้าองค์กร (Corporate) และธุรกิจดิจิทัล
คอนเทนต์ (Content) เช่น ขยายการให้บริการเกี่ยวกับ IoT พัฒนาระบบ
Cloud Business Ecosystem
• ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน
เพื่อให้พร้อมส􀁎ำหรับการด􀁎ำเนินการหรือสนับสนุนกลยุทธ์ของบริษัท
• ศึกษาแนวทางการลงทุน และด􀁎ำเนินธุรกิจใหม่ๆ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่ง
รายได้ใหม่ให้กับบริษัท
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
จากความเสี่ยงดังกล่าว
การเปลี่ยนแปลงระดับความเสี่ยง
จากปี 2562
รายได้ทางการเงินและขีดความ
สามารถในการแข่งขัน
คาดว่าจะมีผลกระทบหรือมีนัยเพิ่ม
ขึ้นในระยะยาว (Emerging risk)


   
ReplyQuote
Share:
Protected by CleanTalk Anti-Spam