Forum

ETL


(@narut-lertsakwimarn)
Eminent Member
Joined: 2 years ago
Posts: 15
Topic starter  

จากมะพร้าวรุ่น 25 นะครับ
จะขอสอบถามอาจารย์ดังนี้ครับ

(จัดหน้ากระดาษในมือถือ ถ้าเบี้ยวขอโทษด้วยนะครับ T^T)

1. อาจารย์ให้ Fair P/E ของหุ้นตัวนี้เท่าไหร่ครับ ,และอยากทราบว่าอาจารย์มองหุ้นเป็นหุ้นประเภทไหนครับ

2. มี downside risk ในประเด็นไหนเพิ่มเติม หรือ risk ที่น่ากังวลมากๆไหมครับ

3. อาจารย์มีโอกาสได้ไป company visit บริษัทนี้บ้างไหมครับ มีความคิดเห็นยังไงกับผู้บริหารครับ

ผมค่อนข้างไม่มีประสบการณ์ในบริษัทขนส่งเท่าไหร่ เลยวิเคราะห์ได้แค่หยาบๆ
ผมลองวิเคราะห์ดูนะครับ

1. Fair P/E 

ตัวนี้ผมให้ Fair P/E 12+5 (Core 12 Growth + 5 )

 

1.1 Core P/E

ตัวนี้ผมให้ core P/E = 12 เท่า (เป็น B2B , แต่ยังเป็น recurring , เป็นสินค้าจำเป็นพอสมควร , มีรถและตู้ cointainer เป็นของตัวเอง เป็นหุ้น top 5 ในตลาดขนส่ง cross boader และยังไม่มีผู้ชนะสมบูรณ์ บริษัทยังเล็กมาและยังโตได้ , บริษัทหนี้ไม่ได้เยอะมาก, market ยังโตได้ )


ผมให้หุ้นนี้เป็น หุ้น Growth และหุ้นวัฎจักร
แต่ไม่ได้วัฏจักรเท่ากับพวก freight forwarder ที่ขึ้นกับค่าระวางเรือเป็นหลัก
ดังนั้น core P/E ควรได้มากกว่าหุ้น wice

แต่ ค่าระวางเรือก็ยังมีผล เช่น ค่าระวางเรือต่ำ ก็อาจจะทำให้คนขนส่งทางเรือมากขึ้น เป็นต้น
ส่วนค่ารถคิดตามระยะทางเป็นหลัก และสามารถทำราคา ใหม่ได้ทุก 3-12 เดือน แต่สามารถเพิ่มราคาไปตามราคาน้ำมันได้

สินค้าส่วนใหญ่ยังเป็นสินค้า electronics

แต่สินค้าอุปโภคบริโภค ชิ้นส่วนยานยนต์ก็โตแรง

สินค้าขนส่งส่วนใหญ่ไม่ได้เป็น commodity ขนาดนั้น (เว้นพวกยางพารา)

ยังคิดว่าบริการขนส่งทางรถ เป็น commodity อ่อนๆ คือส่วนหนึ่งลูกค้าจะตัดสินใจจาก pricing ถ้าบริการไม่ต่างกันมาก เพราะหลักการคือแค่ขนส่งให้ถึงที่หมาย


แต่ก็จะมีความต่างในเชิงมาตรฐาน เช่น ความตรงต่อเวลา ระบบ GPS พิธีการทางศุลกากร การเปลี่ยนตู้ การคุมอุณหภูมิ เป็นต้น


ทำให้การบริการไม่สามารถทดแทนโดยสมบูรณ์ กล่าวคือ Pricing น่าจะเป็นส่วนสำคัญในการเลือกเจ้า แต่อาจจะไม่ใช่แค่เหตุผลเดียวในการเลือก 

 

1.2 Growth ผม conservative ที่ 15 % ไว้ก่อนครับ
เป้าหมายของผู้บริหารคือ โต 18-25% และจะโตสองเท่าใน 3 ปี

คำถามคือทำได้ไหม ? 

ถามเป้าโดยโทรถามจาก CFO(15/02/67) 

มีข้อมูลให้วิเคราะห์เพิ่มดังนี้ครับ


-สิ้นปี 66 มีตู้ประมาณ 400 ตู้ เป็น  Reefer Container 50 ตู้ (เช่า 30 เป็นเจ้าของ 20)

 -Q1 ปี 67 จะเพิ่ม Reefer Container อีก 50 ตู้ (กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะเช่าหรือจะซื้อเลย)

 - Plan จำนวนเที่ยว dry container จะเพิ่มประมาณ 5% ในปี 67

- จำนวนเที่ยว  Reefer Container จะเพิ่มประมาณ 20% ในปี 67

- Reefer Container Revenue ดีกว่า dry ประมาณ 60%

- Gross margin Reefer Container 15-20% 
  Gross margin Dry Container 10-15%

  -จำนวนเที่ยวขากลับปี 66 ทำได้ประมาณ 70% (ที่ไม่ตีรถเปล่ากลับ) plan จะทำให้ได้ 80% ในปี 67 (เป็น challenge ของบริษัท)

 - มี plan ขยาย route ในกัมพูชา  (ผู้บริหารบอก)

** ปีนี้เล็งอะไรไว้
CFO บอกว่า ปี 67 จะมุ่งไปที่ Reefer Container เพื่อขนส่ง ทุเรียน***


มองว่า damand จากจีนยังค่อนข้างสูง คู่แข่งยังน้อย
ปกติทุเรียนจะไม่ขนส่งทางอากาศเพราะคิดตามน้ำหนัก แต่ถ้าเป็นขนส่งทางรถจะคิดเป็นตู้
โดยปกติส่งทางรถใช้เวลา 7-10 วัน ถ้าทางเรือก็จะใช้เวลาสองเท่าของรถ

-Reefer Container ทาง ETL claim ว่าสามารถปรับอุณหภูมิจากส่วนกลางได้เลย ไม่ต้องให้คนขับรถปรับเอง ทำให้สินค้าจะอยู่ในอุณหภูมิที่โอเค

-โดยสามารถไปรับที่สวนทุเรียนแล้วส่งได้เลย ทำให้ทุเรียนยังสด 

คือถ้าอยากได้สด ก็ต้องส่งทางรถ ส่งทางเรือก็ส่งตู้เย็นได้ แต่จะนานกว่า

จริงผมมองว่าตอนนี้บริษัทเล็งไปทำตู้เย็นมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับบริษัท
เพราะ Revenue จะเพิ่ม 

Gearing GP 

  1. GP ของตู้เย็นดีกว่า
  2. ถ้าทำรถขนส่งขากลับให้ไม่ว่างได้ ก็จะยิ่งเพิ่ม GP (เป้า 80% ขากลับ)
  3. less trunk load ขนส่งไม่เต็มตู้ 

จากเหตุผลข้างต้น ผมคิดว่า 15 % น่าจะเป็นตัวเลขที่สมเหตุสมผลครับ

  1. Valuation 

 

Fair P/E = 17 เท่า
EPS คิดจาก dilute เต็ม 620 ล้านหุ้น

จริงๆ Q4 high season สุด
แต่ คิด conservative เอางบ 9 เดือน หาร 3 คูณ 4
จะได้ EPS จะได้

EPS ปี 66 = 0.10 

โต ประมาณ 15 % EPS 67 0.115

 

Fair price 0.115*17= 1.955 บาท —> MOS 30% จะได้ราคา 1.37 บาท โดยประมาณ


ราคาปัจจุบัน 1.53 Forward P/E  ประมาณ 13.3 เท่า


ซึ่งถ้าโตกว่านี้หรือโตตามเป้า ก็จะถือว่าราคานี้ค่อนข้างถูก

**ความเสี่ยง ถ้า growth แค่ประมาณ 10% จะโดนลงโทษหนัก fair P/E จะเท่ากับ 12 เท่าแทน
ซึ่งจะทำให้ Fair Price ปลายปี 67 อยู่ที่ประมาณ 1.32

ถ้าราคา 1.53 ก็จะขาดทุน อย่างน้อย 14 % 

 

ผมมองว่า risk reward ค่อนข้างไม่แย่มากครับ 

 

(**ผมอยากถามอาจารย์ตรงนี้เพิ่มว่า down side risk  ของหุ้นประเภทนี้ อาจารย์ให้ได้ถึงเท่าไหร่ครับ ผมเห็นหุ้นประเภทนี้น้อย เลยไม่แน่ใจว่าคิด risk ถูกไหมครับ)

ประเมินธุรกิจเบื้องต้น
ประเมินความเสี่ยงเป็นหลัก 

 

1.ลูกค้า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็น freight forwarder
CFO แจ้งว่า TOP 10 ของลูกค้า เป็น freight forwarder และ contribute รายได้ 60-70%

wice บริษัทแม่ เป็นรายได้ประมาณ 10 % 

มีการปรับ pricing ทุก 3 - 12 เดือน บริษัทที่ทำรายได้สูงสุดทำกับ ETL ตั้งแต่เริ่มเปิดกิจการและยังไม่เปลี่ยนเจ้า
สัญญาเป็นแบบ Partner ship ไม่จำกัดต้อง มี volume เท่าไหร่ ความหมายคือสามารถเปลี่ยนเจ้าได้ตลอดเวลา
 

Pricing ของขนส่งทางรถคิดตามระยะทาง ราคากับบริษัทคู่แข่งได้ใกล้เคียงกัน สามารถแข่งขันด้านราคาได้ แต่จุดแข็งคือ เรื่องขนส่งตรงเวลา และมี gps ติดตามตลอด บอกทุก 2 ชม + เกี่ยวกับภาพรวมเรื่องพิธีศุลการกร มีบริษัทคอยแก้ปัญหาในเกือบทุกประเทศที่ผ่าน
มีตู้เป็นของตัวเอง ทำให้ไม่มีการ shortage

Freight forwarder ที่จ้างขนส่งทางรถ น่าจะต้องแคร์เรื่องเวลาประมาณนึง (ไม่งั้นก็ส่งทางเรือไปเลย)

switching cost ปานกลาง ถ้าเปลี่ยนเจ้าก็อาจจะกลัวเรื่องมาตรฐานหรือคุณภาพ แต่สามารถเปลี่ยนเจ้าหรือทำเองได้อยู่ดี 

 

  1. ค่าระวางเรือ 

ค่าระวางเรือ ยังไงก็มีผลกับธุรกิจนี้ ถ้าค่าระวางเรือถูก ยังไงลูกค้าก็อยากส่งทางเรือมากกว่าทางรถ

ทางแก้คือ พยายาส่งสินค้าที่ต้องส่งทางรถแล้วจะดีกว่า เช่น ส่งตู้เย็น พวกผลไม้ ถ้าส่งนานของก็จะเสีย เป็นต้น

 

3. ค่าน้ำมัน และค่าต้นทุนอื่นๆ
จริงๆ ค่าน้ำมันก็ส่งต่อให้ลูกค้าได้ประมาณนึง แต่ไม่ได้ส่งต่อได้ทั้งหมด ถ้าค่าน้ำมันสูงยังไงต้นทุนก็สูงขึ้น

4. เรื่องสิ่งแวดล้อม
มีการคิดเรื่องคาร์บอน credit เข้มขนขึ้น อาจเป็นต้นทุนในอนาคต
บริษัท มีมองๆ เรื่องรถ EV บ้าง แต่คงไม่เร็วๆนี้ เพราะวิ่งไกลยังไม่คุ้มทุน

5.เศรษฐกิจของประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ถ้าประเทศจีนเศรษกิจไม่ดี ก็จะส่งผล

6. นโยบายภาครัฐ เรื่องการนำเข้าและส่งออก

7. วัฏจักรของสินค้าต่างๆ เช่น electronic อาจจะดีเป็นช่วงๆ 

8. การกีดกันการค้าระหว่างประเทศ



Five force model ได้ 56 แต้ม  

สินค้า/บริการ

ประเภทธุรกิจ : service 

ประเภทสินค้า FMCG
ลูกค้า
B2B (ส่วนใหญ่เป็น freight forwarder)

รายได้ 

เครื่องยนต์ : 1 เครื่องยนต์ เป็นขนส่งทางบกทั้งหมด
Recurring

Credit
ช่องทางการขาย
Network , platform : no ช่องทางจัดจำหน่าย ส่วนใหญ่ยังพึ่ง freight forwarder เป็นหลัก คิดว่าซื้อจากเว็บได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ช่องทางนี้เป็นหลักครับ

ช่องทางการขาย : Depend

ตลาด 

ขนาดตลาด การขนส่งทางถนนข้ามพรมแดนของอาเซียน  2,023.22 ล้าน USD = 73132 ล้านบาท
เติบโต % ของตลาดข้ามพรมแดงอาเซียน-->  8.00 % ต่อปีภายในปี 2563 -2568 

(ตัวเลขเติบโต logistic ในไทย โดยรวม จะประมาณ 4.95 )

ส่วนแบ่งตลาด น่าจะไม่เกิน 2 % 

จำนวนคู่แข่งรายใหญ่  : ที่รายได้ใกล้เคียงกันน่าจะมีประมาณ 5 เจ้า แต่รายใหญ่มีหลายเจ้ามาที่ไม่ระบรายได้แถว asia เช่น DHL , J&T , Amazon China 

(logistic ทั้งหมด มี  36,733 ราย)

ขนาดกิจการ - 942 ล้านบาท

 

อำนาจต่อรองลูกค้า 

ปริมาณลูกค้า : medium (10 เจ้าแรกก็ 60-70% ของรายได้แล้ว)

ปริมาณที่ซื้อ : medium

Switching cost : medium ใช้เจ้าอื่นได้ แต่ว่ามาตรฐานอาจจะต่างกัน

Supplier (ซื้อรถ ซื้อตู้ container)

จำนวน supplier : medium

ขนาด supplier : BIG (เช่น ISUZU, Scania)

Switching Cost : medium คิดว่าเปลี่ยนยี่ห้อรถหรือตู้คอนเทนเนอร์ได้ แค่อาจจะต้องเทรนเพิ่มเติม อาจไม่ชินเท่ากับยี่ห้อเดิม

 

ภัยคุกคามจากอุตสาหกรรม

คู่แข่ง = many , 5 เจ้า ที่รายได้ใกล้เคียงกัน แต่มีเจ้าใหญ่ที่ไม่แสดงรายได้ด้วย เช่น DHL, J and T
ขนาดคู่แข่ง = big ให้เป็น big เพราะเจ้าใหญ่สามารถลงมาเล่นในธุรกิจนี้ได้ เช่นพวก global logistic
ขนาดตลาด big

การเติบโตของตลาด high

ภัยจากสินค้าทดแทน
ความสมบูรณ์ของสินค้าทดแทน High (เจ้าอื่นก็ทำได้ดีเหมืทอนกัน)

ระดับราคาของสินค้าทดแทน Medium (ราคาใกล้เคียงกัน )

Disruption Technology ให้ low ไปก่อน (ยังนึกภาพชัดๆ ว่าอะไรจะมาแทนขนส่งทางบกไม่ออก)

 

ภัยจากคู่แข่งรายใหม่ 

เงินลงทุน หรือทรัพยากร Medium มีรถก็ทำได้
ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ High (ต้องเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องด่านในแต่ละประเภท)

ความจงรักภักดีกับลูกค้า low มองว่าจะเอาเจ้าไหนก็ได้ 

นโยบายภาครัฐ open 

ประหยัดต่อขนาด low (คือต้องเพิ่มตู้ เพิ่มลด)

 

ขอบคุณมากเลยนะครับ

มะพร้าวรุ่น 25  ครับ


   
Quote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1494
 

Posted by: @narut-lertsakwimarn

จากมะพร้าวรุ่น 25 นะครับ
จะขอสอบถามอาจารย์ดังนี้ครับ

(จัดหน้ากระดาษในมือถือ ถ้าเบี้ยวขอโทษด้วยนะครับ T^T)

1. อาจารย์ให้ Fair P/E ของหุ้นตัวนี้เท่าไหร่ครับ ,และอยากทราบว่าอาจารย์มองหุ้นเป็นหุ้นประเภทไหนครับ

2. มี downside risk ในประเด็นไหนเพิ่มเติม หรือ risk ที่น่ากังวลมากๆไหมครับ

3. อาจารย์มีโอกาสได้ไป company visit บริษัทนี้บ้างไหมครับ มีความคิดเห็นยังไงกับผู้บริหารครับ

ผมค่อนข้างไม่มีประสบการณ์ในบริษัทขนส่งเท่าไหร่ เลยวิเคราะห์ได้แค่หยาบๆ
ผมลองวิเคราะห์ดูนะครับ

1. Fair P/E 

ตัวนี้ผมให้ Fair P/E 12+5 (Core 12 Growth + 5 )

 

1.1 Core P/E

ตัวนี้ผมให้ core P/E = 12 เท่า (เป็น B2B , แต่ยังเป็น recurring , เป็นสินค้าจำเป็นพอสมควร , มีรถและตู้ cointainer เป็นของตัวเอง เป็นหุ้น top 5 ในตลาดขนส่ง cross boader และยังไม่มีผู้ชนะสมบูรณ์ บริษัทยังเล็กมาและยังโตได้ , บริษัทหนี้ไม่ได้เยอะมาก, market ยังโตได้ )


ผมให้หุ้นนี้เป็น หุ้น Growth และหุ้นวัฎจักร
แต่ไม่ได้วัฏจักรเท่ากับพวก freight forwarder ที่ขึ้นกับค่าระวางเรือเป็นหลัก
ดังนั้น core P/E ควรได้มากกว่าหุ้น wice

แต่ ค่าระวางเรือก็ยังมีผล เช่น ค่าระวางเรือต่ำ ก็อาจจะทำให้คนขนส่งทางเรือมากขึ้น เป็นต้น
ส่วนค่ารถคิดตามระยะทางเป็นหลัก และสามารถทำราคา ใหม่ได้ทุก 3-12 เดือน แต่สามารถเพิ่มราคาไปตามราคาน้ำมันได้

 

สินค้าส่วนใหญ่ยังเป็นสินค้า electronics

แต่สินค้าอุปโภคบริโภค ชิ้นส่วนยานยนต์ก็โตแรง

สินค้าขนส่งส่วนใหญ่ไม่ได้เป็น commodity ขนาดนั้น (เว้นพวกยางพารา)

ยังคิดว่าบริการขนส่งทางรถ เป็น commodity อ่อนๆ คือส่วนหนึ่งลูกค้าจะตัดสินใจจาก pricing ถ้าบริการไม่ต่างกันมาก เพราะหลักการคือแค่ขนส่งให้ถึงที่หมาย


แต่ก็จะมีความต่างในเชิงมาตรฐาน เช่น ความตรงต่อเวลา ระบบ GPS พิธีการทางศุลกากร การเปลี่ยนตู้ การคุมอุณหภูมิ เป็นต้น


ทำให้การบริการไม่สามารถทดแทนโดยสมบูรณ์ กล่าวคือ Pricing น่าจะเป็นส่วนสำคัญในการเลือกเจ้า แต่อาจจะไม่ใช่แค่เหตุผลเดียวในการเลือก 

 

1.2 Growth ผม conservative ที่ 15 % ไว้ก่อนครับ
เป้าหมายของผู้บริหารคือ โต 18-25% และจะโตสองเท่าใน 3 ปี

คำถามคือทำได้ไหม ? 

ถามเป้าโดยโทรถามจาก CFO(15/02/67) 

มีข้อมูลให้วิเคราะห์เพิ่มดังนี้ครับ


-สิ้นปี 66 มีตู้ประมาณ 400 ตู้ เป็น  Reefer Container 50 ตู้ (เช่า 30 เป็นเจ้าของ 20)

 -Q1 ปี 67 จะเพิ่ม Reefer Container อีก 50 ตู้ (กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะเช่าหรือจะซื้อเลย)

 - Plan จำนวนเที่ยว dry container จะเพิ่มประมาณ 5% ในปี 67

- จำนวนเที่ยว  Reefer Container จะเพิ่มประมาณ 20% ในปี 67

- Reefer Container Revenue ดีกว่า dry ประมาณ 60%

- Gross margin Reefer Container 15-20% 
  Gross margin Dry Container 10-15%

  -จำนวนเที่ยวขากลับปี 66 ทำได้ประมาณ 70% (ที่ไม่ตีรถเปล่ากลับ) plan จะทำให้ได้ 80% ในปี 67 (เป็น challenge ของบริษัท)

 - มี plan ขยาย route ในกัมพูชา  (ผู้บริหารบอก)

 

** ปีนี้เล็งอะไรไว้
CFO บอกว่า ปี 67 จะมุ่งไปที่ Reefer Container เพื่อขนส่ง ทุเรียน***


มองว่า damand จากจีนยังค่อนข้างสูง คู่แข่งยังน้อย
ปกติทุเรียนจะไม่ขนส่งทางอากาศเพราะคิดตามน้ำหนัก แต่ถ้าเป็นขนส่งทางรถจะคิดเป็นตู้
โดยปกติส่งทางรถใช้เวลา 7-10 วัน ถ้าทางเรือก็จะใช้เวลาสองเท่าของรถ

-Reefer Container ทาง ETL claim ว่าสามารถปรับอุณหภูมิจากส่วนกลางได้เลย ไม่ต้องให้คนขับรถปรับเอง ทำให้สินค้าจะอยู่ในอุณหภูมิที่โอเค

-โดยสามารถไปรับที่สวนทุเรียนแล้วส่งได้เลย ทำให้ทุเรียนยังสด 

คือถ้าอยากได้สด ก็ต้องส่งทางรถ ส่งทางเรือก็ส่งตู้เย็นได้ แต่จะนานกว่า

จริงผมมองว่าตอนนี้บริษัทเล็งไปทำตู้เย็นมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับบริษัท
เพราะ Revenue จะเพิ่ม 

Gearing GP 

  1. GP ของตู้เย็นดีกว่า
  2. ถ้าทำรถขนส่งขากลับให้ไม่ว่างได้ ก็จะยิ่งเพิ่ม GP (เป้า 80% ขากลับ)
  3. less trunk load ขนส่งไม่เต็มตู้ 

จากเหตุผลข้างต้น ผมคิดว่า 15 % น่าจะเป็นตัวเลขที่สมเหตุสมผลครับ

  1. Valuation 

 

Fair P/E = 17 เท่า
EPS คิดจาก dilute เต็ม 620 ล้านหุ้น

จริงๆ Q4 high season สุด
แต่ คิด conservative เอางบ 9 เดือน หาร 3 คูณ 4
จะได้ EPS จะได้

EPS ปี 66 = 0.10 

โต ประมาณ 15 % EPS 67 0.115

 

Fair price 0.115*17= 1.955 บาท —> MOS 30% จะได้ราคา 1.37 บาท โดยประมาณ


ราคาปัจจุบัน 1.53 Forward P/E  ประมาณ 13.3 เท่า


ซึ่งถ้าโตกว่านี้หรือโตตามเป้า ก็จะถือว่าราคานี้ค่อนข้างถูก

 

**ความเสี่ยง ถ้า growth แค่ประมาณ 10% จะโดนลงโทษหนัก fair P/E จะเท่ากับ 12 เท่าแทน
ซึ่งจะทำให้ Fair Price ปลายปี 67 อยู่ที่ประมาณ 1.32

ถ้าราคา 1.53 ก็จะขาดทุน อย่างน้อย 14 % 

 

ผมมองว่า risk reward ค่อนข้างไม่แย่มากครับ 

 

(**ผมอยากถามอาจารย์ตรงนี้เพิ่มว่า down side risk  ของหุ้นประเภทนี้ อาจารย์ให้ได้ถึงเท่าไหร่ครับ ผมเห็นหุ้นประเภทนี้น้อย เลยไม่แน่ใจว่าคิด risk ถูกไหมครับ)

ประเมินธุรกิจเบื้องต้น
ประเมินความเสี่ยงเป็นหลัก 

 

1.ลูกค้า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็น freight forwarder
CFO แจ้งว่า TOP 10 ของลูกค้า เป็น freight forwarder และ contribute รายได้ 60-70%

wice บริษัทแม่ เป็นรายได้ประมาณ 10 % 

มีการปรับ pricing ทุก 3 - 12 เดือน บริษัทที่ทำรายได้สูงสุดทำกับ ETL ตั้งแต่เริ่มเปิดกิจการและยังไม่เปลี่ยนเจ้า
สัญญาเป็นแบบ Partner ship ไม่จำกัดต้อง มี volume เท่าไหร่ ความหมายคือสามารถเปลี่ยนเจ้าได้ตลอดเวลา
 

Pricing ของขนส่งทางรถคิดตามระยะทาง ราคากับบริษัทคู่แข่งได้ใกล้เคียงกัน สามารถแข่งขันด้านราคาได้ แต่จุดแข็งคือ เรื่องขนส่งตรงเวลา และมี gps ติดตามตลอด บอกทุก 2 ชม + เกี่ยวกับภาพรวมเรื่องพิธีศุลการกร มีบริษัทคอยแก้ปัญหาในเกือบทุกประเทศที่ผ่าน
มีตู้เป็นของตัวเอง ทำให้ไม่มีการ shortage

 

Freight forwarder ที่จ้างขนส่งทางรถ น่าจะต้องแคร์เรื่องเวลาประมาณนึง (ไม่งั้นก็ส่งทางเรือไปเลย)

switching cost ปานกลาง ถ้าเปลี่ยนเจ้าก็อาจจะกลัวเรื่องมาตรฐานหรือคุณภาพ แต่สามารถเปลี่ยนเจ้าหรือทำเองได้อยู่ดี 

 

  1. ค่าระวางเรือ 

ค่าระวางเรือ ยังไงก็มีผลกับธุรกิจนี้ ถ้าค่าระวางเรือถูก ยังไงลูกค้าก็อยากส่งทางเรือมากกว่าทางรถ

ทางแก้คือ พยายาส่งสินค้าที่ต้องส่งทางรถแล้วจะดีกว่า เช่น ส่งตู้เย็น พวกผลไม้ ถ้าส่งนานของก็จะเสีย เป็นต้น

 

3. ค่าน้ำมัน และค่าต้นทุนอื่นๆ
จริงๆ ค่าน้ำมันก็ส่งต่อให้ลูกค้าได้ประมาณนึง แต่ไม่ได้ส่งต่อได้ทั้งหมด ถ้าค่าน้ำมันสูงยังไงต้นทุนก็สูงขึ้น

4. เรื่องสิ่งแวดล้อม
มีการคิดเรื่องคาร์บอน credit เข้มขนขึ้น อาจเป็นต้นทุนในอนาคต
บริษัท มีมองๆ เรื่องรถ EV บ้าง แต่คงไม่เร็วๆนี้ เพราะวิ่งไกลยังไม่คุ้มทุน

5.เศรษฐกิจของประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ถ้าประเทศจีนเศรษกิจไม่ดี ก็จะส่งผล

6. นโยบายภาครัฐ เรื่องการนำเข้าและส่งออก

7. วัฏจักรของสินค้าต่างๆ เช่น electronic อาจจะดีเป็นช่วงๆ 

8. การกีดกันการค้าระหว่างประเทศ



Five force model ได้ 56 แต้ม  

สินค้า/บริการ

ประเภทธุรกิจ : service 

ประเภทสินค้า FMCG
ลูกค้า
B2B (ส่วนใหญ่เป็น freight forwarder)

รายได้ 

เครื่องยนต์ : 1 เครื่องยนต์ เป็นขนส่งทางบกทั้งหมด
Recurring

Credit
ช่องทางการขาย
Network , platform : no ช่องทางจัดจำหน่าย ส่วนใหญ่ยังพึ่ง freight forwarder เป็นหลัก คิดว่าซื้อจากเว็บได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ช่องทางนี้เป็นหลักครับ

ช่องทางการขาย : Depend

 

ตลาด 

ขนาดตลาด การขนส่งทางถนนข้ามพรมแดนของอาเซียน  2,023.22 ล้าน USD = 73132 ล้านบาท
เติบโต % ของตลาดข้ามพรมแดงอาเซียน-->  8.00 % ต่อปีภายในปี 2563 -2568 

(ตัวเลขเติบโต logistic ในไทย โดยรวม จะประมาณ 4.95 )

ส่วนแบ่งตลาด น่าจะไม่เกิน 2 % 

จำนวนคู่แข่งรายใหญ่  : ที่รายได้ใกล้เคียงกันน่าจะมีประมาณ 5 เจ้า แต่รายใหญ่มีหลายเจ้ามาที่ไม่ระบรายได้แถว asia เช่น DHL , J&T , Amazon China 

(logistic ทั้งหมด มี  36,733 ราย)

ขนาดกิจการ - 942 ล้านบาท

 

อำนาจต่อรองลูกค้า 

ปริมาณลูกค้า : medium (10 เจ้าแรกก็ 60-70% ของรายได้แล้ว)

ปริมาณที่ซื้อ : medium

Switching cost : medium ใช้เจ้าอื่นได้ แต่ว่ามาตรฐานอาจจะต่างกัน

 

Supplier (ซื้อรถ ซื้อตู้ container)

จำนวน supplier : medium

ขนาด supplier : BIG (เช่น ISUZU, Scania)

Switching Cost : medium คิดว่าเปลี่ยนยี่ห้อรถหรือตู้คอนเทนเนอร์ได้ แค่อาจจะต้องเทรนเพิ่มเติม อาจไม่ชินเท่ากับยี่ห้อเดิม

 

ภัยคุกคามจากอุตสาหกรรม

คู่แข่ง = many , 5 เจ้า ที่รายได้ใกล้เคียงกัน แต่มีเจ้าใหญ่ที่ไม่แสดงรายได้ด้วย เช่น DHL, J and T
ขนาดคู่แข่ง = big ให้เป็น big เพราะเจ้าใหญ่สามารถลงมาเล่นในธุรกิจนี้ได้ เช่นพวก global logistic
ขนาดตลาด big

การเติบโตของตลาด high

ภัยจากสินค้าทดแทน
ความสมบูรณ์ของสินค้าทดแทน High (เจ้าอื่นก็ทำได้ดีเหมืทอนกัน)

ระดับราคาของสินค้าทดแทน Medium (ราคาใกล้เคียงกัน )

Disruption Technology ให้ low ไปก่อน (ยังนึกภาพชัดๆ ว่าอะไรจะมาแทนขนส่งทางบกไม่ออก)

 

ภัยจากคู่แข่งรายใหม่ 

เงินลงทุน หรือทรัพยากร Medium มีรถก็ทำได้
ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ High (ต้องเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องด่านในแต่ละประเภท)

ความจงรักภักดีกับลูกค้า low มองว่าจะเอาเจ้าไหนก็ได้ 

นโยบายภาครัฐ open 

ประหยัดต่อขนาด low (คือต้องเพิ่มตู้ เพิ่มลด)

 

ขอบคุณมากเลยนะครับ

มะพร้าวรุ่น 25  ครับ

 

ยาวดีจัง 55+

1. Fair Price ส่วนตัวมองว่าน่าจะอยู่ในช่วง 12-15x ครับ เรื่องพรีเมียมจากการเติบโตข้อนี้ตลาดมีข้อยกเว้นอยู่บ้างนะครับ คือการเติบโตนั้น "ต้องชัดเจน" มากๆ ว่าจะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่ แต่ถ้าเป็นคำพูดลอยๆโดยเฉพาะธุรกิจ B2B ตลาดอาจ discount ให้ Core P/E ไปตลอดได้อยู่นะครับ

1.1 เห็นด้วยนะครับว่าควรได้สูงกว่า wice  แต่ค่าขนส่งพวกนี้ถ้าดีลเป็นสัญญายาวหน่อย เช่นบริษัทลูกค้าอาจจะมีส่งประจำ ก็อาจดีลเป็นสัญญาระยะยาวได้เหมือนกัน และอาจจะมีปรับค่าความผันผวนของราคาน้ำมันไว้แล้วบ้าง แต่ก็ยังมีเรื่องการสูญเสียระหว่างทางที่ไม่ได้อยู่ในสัญญาด้วย  และก็เห็นด้วยเรื่องเหตุผลในการเลือกของลูกค้า

1.2 เรื่อง Growth ของธุรกิจ B2B จริงๆแล้วคาดการณ์ยากครับ ธุรกิจนี้หลักๆไม่ได้ซื้อรถก่อน แล้วค่อยหาลูกค้า แต่เค้าจะหาลูกค้าก่อนค่อยซื้อรถ  หรือเห็น Demand อยู่แล้วระดับนึง 

2. เรื่อง Growth 15% คิดว่าก็เป็นไปได้แหละครับ แต่ส่วนตัวคิดว่า growth คิดยากมากๆ คือเอาจริงๆมันก็มีหลักในการประเมินยากอยู่เพราะข้อ 1.1 ที่ว่าเค้าหาลูกค้าก่อนแล้วค่อยซื้อรถ ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับการหาลูกค้าว่าจะหาได้ตาม "เป้าหมาย" รึเปล่า แต่เพดานการลงทุนน่าจะจำกัดเท่าที่เค้าประเมินก็คือ 18-20% เพราะมันมีเรื่องของบลงทุนไว้

ส่วนเรื่อง downside risk ก็คิดว่ายากมากๆครับ ยกตัวอย่างธุรกิจ ATP30 เป็นธุรกิจรถรับส่งพนักงาน จริงๆก็คล้ายๆกันกับ Logistic ที่ขนสินค้า ต้นทุนหลักก็เป็นเชื้อเพลิงเหมือนกัน หากมี Supply (รถ) เยอะ อำนาจต่อรองก็มักอยู่ที่ลูกค้า และอาจต้องยอมลูกค้าเวลาที่ราคาน้ำมันขึ้น ถ้าจะให้ดีก็ควรไปย้อนดูเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ช่วง Q3-4 2022 ว่าได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ราคาน้ำมันดีเซลขึ้นรึเปล่าน่าจะ sure กว่า และยกกรณี ATP30 ที่สุดท้ายเจ็บหนักจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจนแทบไม่เหลือกำไรเลย ดังนั้น downside risk ก็อาจจะสูงมากก็ได้

ผมคิดว่ากรณีนี้คล้ายๆกับ ATP30 อยู่เหมือนกัน ตอนแรกตลาดให้ P/E 12x-15x แต่พอมี Growth จาก partner ใหม่อย่าง โตโยต้าทูโช่ ตั้งเป้าเติบโตเป็น 25% ต่อปี เพราะทูโช่โยนลูกค้ามาให้ ตลาดก็ Re-Rate P/E ขึ้นไป 25x เพราะภาพมันชัดเหมือนกัน ราคาขึ้นจาก 1.1 บาท ขึ้นไปเป็น 2.6-2.7 บาท แต่หลังจากนั้นกลางปีราคาน้ำมันดีเซลขึ้นจาก 29.99 เป็น 35.00 กำไรก็หดหมดเลยราคาก็ลงไปลึกสุดแถวๆ  0.9 บาท สะท้อนความผันผวนของต้นทุน (น้ำมันที่มีสัดส่วน 40%) และการเติบโตที่ลดลงเหลือ 10% เหมือนเดิม

อย่างที่บอกว่าเคสนี้คิดว่าต้องไปแกะงบปี 2022 ให้ละเอียดว่าผลกระทบเป็นอย่างไรครับ น่าจะสะท้อนภาพ downside risk ได้ดีครับ ถ้าหากว่าได้รับผลกระทบไม่เยอะ แปลว่าผลักภาระให้ลูกค้าได้จริงๆ ก็น่าสนใจเลยครับ

เรื่องอำนาจต่อรอง ผมว่าจริงอยู่ที่ลูกค้าอาจไม่เปลี่ยนครับ แต่อาจใช้คู่แข่งมาต่อรองแทนครับ ส่วนตัวผมก็ยังมองว่าแค่มีเงินซื้อรถ หาคนขับได้ มันก็พอแข่งขันได้นะครับ เห็นมีบริษัท freight forwarder ทำกันเองก็เยอะแยะ ส่วนตัวก็นึกไม่ออกว่า barrier to entry คืออะไรอ่ะครับ

แต่ถ้าถามว่าเค้าสามารถโตได้ไหม ก็เชื่อว่าโตได้นะครับ แต่เท่าไหร่ คิดว่ามันตอบยากหน่อย ละก็ต้อง aware เรื่องต้นทุนมากๆ คิดว่าควรทราบด้วยว่าสัดส่วนตันทุนเป็นอะไรบ้าง ลองหาใน หมายเหตุประกอบงบดูนะครับ เพื่อจะได้พิจารณาว่าต้นทุนจะผันผวนแค่ไหน

 


   
ReplyQuote
(@narut-lertsakwimarn)
Eminent Member
Joined: 2 years ago
Posts: 15
Topic starter  

ต่อไปจะให้กระชับขึ้นนะครับ 5555

ขอบคุณมากเลยนะครับอาจารย์ เดียวผมไปทำการบ้านเพิ่มครับ

ผมขออนุญาตถามต่อนิดนึง ในนี้เลยนะครับ

1. แสดงว่าสมัยก่อน หุ้น b2b ให้ premium ตาม growth เยอะกว่าตลาดช่วงนี้ใช่ไหมครับ ? และมันน่าจะเป็นแบบนี้ถาวรเลย ไหมครับ ? เพราะ smart money เห็นความเสี่ยง b2b ถ้าไม่ชัดเจน ก็ไม่ให้ค่า (คนมีความรู้เยอะขึ้น)

2. เมื่อไหร่ที่เราจะคิดว่าจะต้องลด p/e ลงตามมุมมองของตลาดครับ ? 

ผมจะลองเดานะครับ ขอยกตัวอย่างเคส

ตอนผมซื้อ rph ช่วงมีนา66 (ประมาณ 6 บาท) ช่วงนั้น คนยังมองภาพไม่ออกว่า รพ ปีนี้จะเป็นอย่างไร ยังมี doubt เยอะ 

ผมเลยประเมิน ตอนนั้นให้ p/e 27 เท่า คิด eps ของปี 66 ประมาณ 0.29 ก็จะมี mos ประมาณ 25% ครับ

แต่พอปีนี้ งบq 3 ออกแล้ว ซึ่งมันชัดเจนมากๆ ว่า rph ปีนี้ eps ควรจะอย่างน้อย 0.34 (เอา 3q แล้วให้ q4 แค่เท่ากับ q1

แต่ราคาอยู่ประมาณ 6.45 บาท ที่ p/e ปี 66 แค่ประมาณ 19 เท่า 

ยังงี้ผมควรคิดว่า ถ้ามันชัดเจนแล้ว แต่ตลาดยังให้ p/e เท่านี้ แปลว่า การให้ p/e 27 เท่า ของเราอาจจะผิด

เพราะ smart money ต้องรู้ข้อมูลอยู่แล้ว แต่จะให้เท่านี้

สรุปคือ เราจะคิดว่าเราคิดผิด ต่อเมื่อผลลัพธ์มันชัดเจนแล้ว แต่ตลาดให้ p/e น้อยกว่าเราไหมครับ?

โดยอาจพิจารณาหุ้นรพ ทั้งกลุ่มด้วย

3. อาจารย์คิดว่า การลด p/e จะถาวรเลยไหมครับ หรือช่วงตลาดดีขึ้น p/e ก็จะสูงขึ้นตามครับ?(เพราะคนมีความรู้ขึ้นทุกวันครับ)

ขอบคุณมากเลยนะครับ

มะพร้าวรุ่น 25

 


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1494
 

Posted by: @narut-lertsakwimarn

ต่อไปจะให้กระชับขึ้นนะครับ 5555

ขอบคุณมากเลยนะครับอาจารย์ เดียวผมไปทำการบ้านเพิ่มครับ

ผมขออนุญาตถามต่อนิดนึง ในนี้เลยนะครับ

1. แสดงว่าสมัยก่อน หุ้น b2b ให้ premium ตาม growth เยอะกว่าตลาดช่วงนี้ใช่ไหมครับ ? และมันน่าจะเป็นแบบนี้ถาวรเลย ไหมครับ ? เพราะ smart money เห็นความเสี่ยง b2b ถ้าไม่ชัดเจน ก็ไม่ให้ค่า (คนมีความรู้เยอะขึ้น)

2. เมื่อไหร่ที่เราจะคิดว่าจะต้องลด p/e ลงตามมุมมองของตลาดครับ ? 

ผมจะลองเดานะครับ ขอยกตัวอย่างเคส

ตอนผมซื้อ rph ช่วงมีนา66 (ประมาณ 6 บาท) ช่วงนั้น คนยังมองภาพไม่ออกว่า รพ ปีนี้จะเป็นอย่างไร ยังมี doubt เยอะ 

ผมเลยประเมิน ตอนนั้นให้ p/e 27 เท่า คิด eps ของปี 66 ประมาณ 0.29 ก็จะมี mos ประมาณ 25% ครับ

แต่พอปีนี้ งบq 3 ออกแล้ว ซึ่งมันชัดเจนมากๆ ว่า rph ปีนี้ eps ควรจะอย่างน้อย 0.34 (เอา 3q แล้วให้ q4 แค่เท่ากับ q1

แต่ราคาอยู่ประมาณ 6.45 บาท ที่ p/e ปี 66 แค่ประมาณ 19 เท่า 

ยังงี้ผมควรคิดว่า ถ้ามันชัดเจนแล้ว แต่ตลาดยังให้ p/e เท่านี้ แปลว่า การให้ p/e 27 เท่า ของเราอาจจะผิด

เพราะ smart money ต้องรู้ข้อมูลอยู่แล้ว แต่จะให้เท่านี้

สรุปคือ เราจะคิดว่าเราคิดผิด ต่อเมื่อผลลัพธ์มันชัดเจนแล้ว แต่ตลาดให้ p/e น้อยกว่าเราไหมครับ?

โดยอาจพิจารณาหุ้นรพ ทั้งกลุ่มด้วย

3. อาจารย์คิดว่า การลด p/e จะถาวรเลยไหมครับ หรือช่วงตลาดดีขึ้น p/e ก็จะสูงขึ้นตามครับ?(เพราะคนมีความรู้ขึ้นทุกวันครับ)

ขอบคุณมากเลยนะครับ

มะพร้าวรุ่น 25

 

1. ใช่ครับ ถาวรไหมก็พูดยากนะ คือปัญหาคือช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีแต่หุ้น B2B ทั้งนั้นที่มีปัญหา ให้เดาก็เดาว่าอาจต้องเป็นช่วงที่หุ้น B2B Perform ดีๆหลายๆปีติดต่อกันจนตลาด greedy เพิ่มขึ้นอ่ะ

2. เป็นคำถามที่ดีมากครับ เรื่อง RPH ถูกต้องครับ เรื่องมุมมองตลาดอาจต้องทำการบ้านให้เยอะมากพอครับ มันจะพอเห็นมุมมองของหุ้นจากตัวอื่นมาสะท้อนครับ

3. การลด p/e น่าจะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยด้วยครับ ถ้าดอกเบี้ยลด p/e ก็ต้องถูก re-rate ขึ้นแน่นอนครับ การลงทุนมันเป็นการเปรียบเทียบกับสินทรัพย์อื่นๆในมุมมองความเสี่ยงครับ

ยกตัวอย่างนะ สมมุติตอนนี้ Risk free rate return 3% ตลาดหุ้นก็ต้องคาดหวังเพิ่มขึ้นเป็น 6-7% สะท้อนความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น p/e ก็ 14-16x

แต่ถ้า risk free rate return ลดลงเหลือ 1% ตลาดหุ้นจะคาดหวังผลตอบแทนเท่าเดิมไหม ก็คงไม่ เพราะค่าเฉลี่ยของ Earning Yield Gap มันประมาณ 3-4% มา 30 ปีละ ให้เดามันก็ควรจะลดลงเหลือ 4-5% P/E ก็จะเพิ่มเป็น 20-25x

 


   
ReplyQuote
(@narut-lertsakwimarn)
Eminent Member
Joined: 2 years ago
Posts: 15
Topic starter  
ขอบคุณมากนะครับอาจารย์ เดียวไปทำการบ้านเพิ่มครับ : )

   
ReplyQuote
Share:
Protected by CleanTalk Anti-Spam