Forum

Notifications
Clear all

ถ้ามีวิกฤตหนี้ตามมาในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เราจะเตรียมรับมืออย่างไรครับ


(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
Topic starter  

เห็นโฆษณาขายหนังสือของ Ray Dalio ชื่อหนังสือ Big Debt Crises

ส่วนตัวยังไม่ได้อ่านนะครับ แต่ได้ยินมาบ้างเรื่องหนี้สาธารณะโดยรวมของโลกตอนนี้ขึ้นแตะระดับที่สูงที่สุดในรอบหลายสิบปี

สมมุติว่ามีวิกฤตหนี้เกิดขึ้นจริงในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

ในกรณีที่พอร์ตของเรามีหุ้นที่เรามีต้นทุนถูกจากวิกฤตโควิดที่ผ่านมา เราควรเตรียมตัวเพื่อรับมือวิกฤตนี้ได้อย่างไรบ้างครับ

ก. ต้นทุนถูกแล้ว ไม่ต้องทำอะไร ถ้าลงมามี MOS เยอะ ก็ซื้อเพิ่ม

ข. คอยติดตามสถานการณ์ เช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ถ้ามีอะไรผิดปกติ ล้างพอร์ตให้เกลี้ยงรอซื้อตอนวิกฤต

(ถ้าวิกฤตไม่มา ก็กำเงินสดรอต่อไป 555)

ค. คอยติดตามสถานการณ์ เช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ถ้ามีอะไรผิดปกติก็ขายหุ้นในกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ

เช่นกลุ่มการเงิน ธนาคาร กลุ่มอื่นต้นทุนถูกอยู่แล้วไม่ต้องทำอะไร

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ


   
Quote
(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
Topic starter  

เพิ่มเติมนิดนึงนะครับ ส่วนตัวเข้าใจว่าคำถามนี้ตอบได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับภาระและความจำเป็นของแต่ละคน

จุดประสงค์คืออยากได้คำแนะนำของอาจารย์ไว้เป็นแนวทางครับ


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1496
 
Posted by: @pongpisut-khrutmuang

เห็นโฆษณาขายหนังสือของ Ray Dalio ชื่อหนังสือ Big Debt Crises

ส่วนตัวยังไม่ได้อ่านนะครับ แต่ได้ยินมาบ้างเรื่องหนี้สาธารณะโดยรวมของโลกตอนนี้ขึ้นแตะระดับที่สูงที่สุดในรอบหลายสิบปี

สมมุติว่ามีวิกฤตหนี้เกิดขึ้นจริงในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

ในกรณีที่พอร์ตของเรามีหุ้นที่เรามีต้นทุนถูกจากวิกฤตโควิดที่ผ่านมา เราควรเตรียมตัวเพื่อรับมือวิกฤตนี้ได้อย่างไรบ้างครับ

ก. ต้นทุนถูกแล้ว ไม่ต้องทำอะไร ถ้าลงมามี MOS เยอะ ก็ซื้อเพิ่ม

ข. คอยติดตามสถานการณ์ เช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ถ้ามีอะไรผิดปกติ ล้างพอร์ตให้เกลี้ยงรอซื้อตอนวิกฤต

(ถ้าวิกฤตไม่มา ก็กำเงินสดรอต่อไป 555)

ค. คอยติดตามสถานการณ์ เช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ถ้ามีอะไรผิดปกติก็ขายหุ้นในกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ

เช่นกลุ่มการเงิน ธนาคาร กลุ่มอื่นต้นทุนถูกอยู่แล้วไม่ต้องทำอะไร

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ

อาา พี่ตอบตามความเห็นพี่เลยละกันนะครับ 

พี่คิดว่าเราควร aware ความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา และคอยมองหาว่าต้นตอของปัญหาน่าจะมาจากจุดไหน และ monitoring มันไว้ต่อเนื่องเลยครับ

indicator ที่พี่จะเฝ้ามีประมาณนี้ครับ

1. 2-10 Spread หากต่ำกว่า 0% สะท้อนมุมมองกองทุนยักษ์ใหญ่ระดับโลกว่ากังวลวิกฤต ดังนั้นพี่มักจะล้างพอร์ตครับ

2. สัดส่วน Public Debt ของไทย และประเทศกลุ่มเสี่ยง เช่น Brazil, Turkey เป็นต้น

3. สัดส่วน Private Debt ของไทย และประเทศกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากพี่เห็นว่า กลุ่มนี้น่ากลัวมากๆเช่นกันครับ เพราะประชาชนกู้หนี้สูงขึ้นมหาศาลใน 2 ปีที่ผ่านมา ทีนี้ เมื่อ FED ขึ้นดอกเบี้ย ในปีหน้า และไทยน่าจะเริ่มขึ้นใน 2 ปีข้างหน้า คำถามคือ ประชาชนจะแบกรับภาระไหวจริงรึเปล่า ในเมื่อปี 64-65 แบงค์ชาติปล่อยผี LTV 100% เพื่อกระตุ้นให้คนซื้อบ้าน/คอนโดเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันต่ำมากเพียง 2%+ หากใน 2 ปีข้างหน้าแบงค์ชาติก็จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม FED อีก 2% จะทำให้ดอกเบี้ยลอยตัวสูงมากถึง 6-7% หรือมากกว่าปัจจุบันถึง 3 เท่า แล้วประชาชนจะจ่ายไหวไหม

4. ต่อจากข้อ 3 พี่จะคอยติดตามตัวเลข NPL อย่างใกล้ชิดมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีหน้าเป็นต้นไปครับ ชนิดที่ว่าต้องติดตามทุกๆเดือนเลยครับ (จริงๆต้องติดตามทุกเดือนในทุกๆข้อครับ)

สุดท้ายกลยุทธ์ของพี่คืออะไร

1. พี่เชื่อว่าไม่มีใครรู้วิกฤตล่วงหน้าครับ ใครบอกว่ารู้คือมั่วเอาทั้งนั้น

2. สิ่งที่สำคัญคือการเตรียมตัวรับมือต่างหาก ซื้อพี่คำนวณแล้วว่า เงินสดสัก 20-30% ของพอร์ตนั้น มากเพียงพอจะกอบกู้ผลตอบแทนในช่วงวิกฤตได้แล้วครับ วิธีการคือ บริหารพอร์ตให้มีเงินสด 20-30% ของพอร์ต นั่นแปลว่าเงินในหุ้นจะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อแบกเงินสดที่มีด้วย แต่ข้อดีคือ เมื่อเกิดวิกฤตขึ้น หุ้นจะปรับตัวลง 40-50% เป็นเรื่องปกติ แต่จะน้อยกว่านั้นหากเป็นหุ้นที่มีลักษณะ Defensive, ขายสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต, Domestic และเป็นจังหวะที่เราจะนำเงินสดที่มีมาช้อนซื้อหุ้นตอนตกต่ำมากๆนั่นเอง และหากตลาดตกลงมา 40-50% จนจากสัดส่วนหุ้น 80% ลดลงมาเหลือเพียง 40% พี่คิดว่า Downside risk ก็ต่ำมากแล้วครับ และจุดนี้เงินสด 20-30% จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าเกลียด 100% แน่นอน จากประสบการณ์ของพี่ไม่เคยพลาด ดังนั้นเงินสด 20-30% จะกลายมาเป็น 40-60% เมื่อรวมกับหุ้นที่ถืออยู่และลดลงมา 40% จะเห็นได้ว่า รวมแล้วจะได้ 80-100% นี่ยังไม่นับว่าหุ้นเดิมก็จะ Recover ขึ้นมาด้วยสัก 20-40% เมื่อผ่านไป 1 ปี สรุปคือ พอร์ตเราจะไม่ได้รับผลกระทบเลยครับ พี่คิดว่าการเตรียมตัวสำคัญสุดครับ ถ้าสังเกตจะเห็นว่า Buffett ก็ทำลักษณะนี้ครับ แต่ปู่เก็บเงินไว้ 40% เท่านั้นเอง ส่วนนึงเป็นเพราะพี่คิดว่าพอร์ตปู่ใหญ่มากๆนั่นเอง แต่ส่วนตัวคิดว่าพี่มีวิธีการระดมเงินทุนในช่วงวิกฤตเตรียมไว้อยู่แล้ว เช่น ซื้ออสังหาฯ แล้วรีบผ่อน พอจังหวะวิกฤต พี่จะทำการ Re-Finance ทุกครั้งทำให้ระดมเงินทุนได้มากกว่า 20-30% ของขนาดพอร์ตอยู่แล้ว ก็เป็นกลยุทธ์สำคัญของพี่ครับ


   
ReplyQuote
(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
Topic starter  

@prapas-b88 ขอบคุณมากครับ ชอบคำว่า "สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าเกลียด 100% แน่นอน" 5555

ถึงจะคล้ายๆเรื่องหนี้ที่เคยทำคลิปมาแล้ว แต่เรื่องรับมือวิกฤตผมว่าทำได้อีกคลิปเลยนะครับ จะรอฟังครับผม


   
ReplyQuote
(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
Topic starter  

@prapas-b88 ตัวเลข NPL ที่อัพเดททุกเดือนหาดูได้จากไหนครับ รบกวนด้วยนะครับ ผมลองไปส่องของ ธ.แห่งประเทศไทยมีแต่รายไตรมาศ


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1496
 
Posted by: @pongpisut-khrutmuang

@prapas-b88 ตัวเลข NPL ที่อัพเดททุกเดือนหาดูได้จากไหนครับ รบกวนด้วยนะครับ ผมลองไปส่องของ ธ.แห่งประเทศไทยมีแต่รายไตรมาศ

เดี๋ยวนี้หารายไตรมาสได้อย่างเดียวเหมือนกันครับ เมื่อก่อนโควิดนี่มีตัวเลขรายเดือนเลย 🙁 


   
ReplyQuote
(@pongpisut-khrutmuang)
Trusted Member
Joined: 3 years ago
Posts: 52
Topic starter  

ขอบคุณครับ


   
ReplyQuote
Share:
Protected by CleanTalk Anti-Spam