Forum

Notifications
Clear all

JMT โครงสร้างการทำธุรกิจ


(@mr-lc-ucp)
Trusted Member
Joined: 1 year ago
Posts: 41
Topic starter  

สวัสดีครับอาจารย์

 

รบกวนสอบถามเรื่องโครงสร้างการทำธุรกิจของ JMT หน่อยนะครับ
ผมอ่าน 56-1 แล้วยังไม่ค่อยเข้าใจขอบเขตการทำธุรกิจระหว่าง JMT Network Services และ J Asset Management ครับ

 

รบกวนสอบถามดังนี้ครับ

1) ผมสรุปตามความเข้าใจ แบบนี้ถูกไหมครับ

JMT Network Services: รับจ้างติดตามหนี้ และ ซื้อหนี้มาบริหาร (หนี้ที่ไม่มีหลักประกัน)
J Asset Management: ซื้อหนี้มาบริหาร (หนี้ที่มีหลักประกัน)

 

2) เอกสาร 56-1 หน้า 16 ระบุว่า “บริษัทรับจ้างติดตามหนี้หรือบริษัทที่ซื้อหนี้เพื่อบริหาร” จะเป็นหนี้หนี้สินเชื่อบัตรเครดิต
แต่ 56-1 หน้า 17 ดูภาพแล้วสับสนระหว่าง “บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรัพย์”  กับ “บริษัทติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ” ครับ
เพราะภาพด้านซ้ายมือพูดถึงสินเชื่อบัตรเครดิต ที่สุดท้ายแล้วลงมาจบที่ “บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรัพย์”

เหมือนข้อมูลหน้า 16 กับ 17 มันไม่สัมพันธ์กันครับ รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ
(ผมตัดภาพเอกสารหน้า 16 กับ 17 แนบมาให้ดูด้วยครับ)

 

3) เอกสาร 56-1 หน้า 18 เหมือนจะสรุปว่า “บริษัทติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ” จะเน้นไปที่การติดตามหนี้
ในขณะที่ “บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรัพย์” จะเน้นไปที่การฟ้องคดี
(ผมตัดภาพเอกสารหน้า 18 แนบมาให้ดูด้วยครับ)

จริงๆและ 2 แบบนี้ต่างกันอย่างไรครับ เพราะเท่าที่อ่านมา JMT ก็มีให้บริการฟ้องคดีเหมือนกันครับ.

 

4) บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด (ที่เป็นการร่วมค้า ระหว่าง J Asset Management กับ Kvision)
ก็ทำธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เหมือน JMT & J Asset Management เพียงแต่
สินทรัพย์ส่วนใหญ่ก็คือจะมาจาก KBANK ถูกไหมครับ

 

คำถามผม 4 ข้อ ถ้าผมเข้าใจอะไรไม่ถูกรบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะเพิ่มเติมด้วยนะครับ.

 

ขอบคุณครับ


   
Quote
(@mr-lc-ucp)
Trusted Member
Joined: 1 year ago
Posts: 41
Topic starter  

สวัสดีครับอาจารย์

 

รบกวนขอคำแนะนำการบันทึกงบ JMT หน่อยนะครับ

 

ผมศึกษาวิธีบันทึกงบตามอาจารย์ แต่ไม่เข้าใจที่มาของตัวเลข “Total Loan Receivables”
Q1 2565 : 17,098

ผมดูสูตรที่แสดงใน Cell แล้วตามไปดูที่มาของข้อมูลพบว่ามาจาก File Data ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลจาก
1) Current Portion of Trade and Loan Receivables
2) Current Portion of Lease Receivables

3) Non-Current Portion of Trade and Loan Receivables
4) Non-Current Portion of Lease Receivables

ใน Excel แสดงค่า Current Portion of Trade and Loan Receivables จำนวน 1,522,037
มาจาก Trade Receivables : 858,359 + Loan Receivables : 663,678 = 1,522,037

เมื่อรวมกับ Non-Current Portion of Lease Receivables จำนวน 15,576,206
จะได้เป็น Total Loan Receivables 17,098,243 (1,522,037 + 15,576,206)

(ผมแนบรูปภาพที่มาของตัวเลข ที่ตัดมาจาก Excel File มาให้ด้วยครับ)

 

 

ผม match ตัวเลข ใน Excel กับ ตัวเลขในงบจาก Set. ได้ดังนี้ครับ
(ผมบันทึกงบโดยใช้ File จาก Set.co.th ที่ประกาศในแต่ละไตรมาส ไม่ได้ใช้ download จะ SETSMART นะครับ)

Current Portion of Trade and Loan Receivables ประกอบไปด้วย
   Trade Receivables = xxx : 858,359
   Loan Receivables = เงินให้สินเชื่อจากการซื้อลูกหนี้คาดว่าจะได้รับชำระภายในหนึ่งปี : 663,678
Current Portion of Lease Receivables

Non-Current Portion of Trade and Loan Receivables = เงินให้สินเชื่อจากการซื้อลูกหนี้คาดว่าจะได้รับชำระเกินกว่าหนึ่งปี : 15,576,206
Non-Current Portion of Lease Receivables

 

ประเด็นที่อยากขอคำแนะนำจากอาจารย์คือ
1) ตัวเลข Trade Receivables 858,359 ประกอบไปด้วยอะไรบ้างครับ

เนื่องจากในงบการเงิน ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น มีจำนวนแค่ 792,271 ยังไม่เท่ากับ 858,359 ครับ

 

2) จำนวนหนี้ ที่ซื้อเข้ามาได้ จะถูกบันทึกไว้ที่ไหน อย่างไร หรือครับ

 

ขอถามที่ไม่เกี่ยวกับการบันทึกงบฯเพิ่มข้อนึงนะครับ

3) เอกสาร 56-1 ธุรกิจติดตามหนี้ ระบุว่าอัตราความสำเร็จในการติดตามหนี้ประมาณ 3 – 4 % ของยอดมูลหนี้ที่ติดตาม
แบบนี้ แปลว่าธุรกิจที่ซื้อหนี้มาบริหารจัดการ ก็น่าจะมีอัตราความสำเร็จในการติดตามหนี้ที่ 3 – 4% เหมือนกันไหมครับ
(ผมตัดข้อมูล แนบมาให้ด้วยครับ)

หรือ ถ้าเราจะประเมินอัตราความสำเร็จของหนี้ที่ซื้อเข้ามาได้อย่างไรครับ.

 

ขอบคุณครับ


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1496
 

Posted by: @mr-lc-ucp

สวัสดีครับอาจารย์

 

รบกวนสอบถามเรื่องโครงสร้างการทำธุรกิจของ JMT หน่อยนะครับ
ผมอ่าน 56-1 แล้วยังไม่ค่อยเข้าใจขอบเขตการทำธุรกิจระหว่าง JMT Network Services และ J Asset Management ครับ

 

รบกวนสอบถามดังนี้ครับ

1) ผมสรุปตามความเข้าใจ แบบนี้ถูกไหมครับ

JMT Network Services: รับจ้างติดตามหนี้ และ ซื้อหนี้มาบริหาร (หนี้ที่ไม่มีหลักประกัน)
J Asset Management: ซื้อหนี้มาบริหาร (หนี้ที่มีหลักประกัน)

 

2) เอกสาร 56-1 หน้า 16 ระบุว่า “บริษัทรับจ้างติดตามหนี้หรือบริษัทที่ซื้อหนี้เพื่อบริหาร” จะเป็นหนี้หนี้สินเชื่อบัตรเครดิต
แต่ 56-1 หน้า 17 ดูภาพแล้วสับสนระหว่าง “บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรัพย์”  กับ “บริษัทติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ” ครับ
เพราะภาพด้านซ้ายมือพูดถึงสินเชื่อบัตรเครดิต ที่สุดท้ายแล้วลงมาจบที่ “บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรัพย์”

เหมือนข้อมูลหน้า 16 กับ 17 มันไม่สัมพันธ์กันครับ รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ
(ผมตัดภาพเอกสารหน้า 16 กับ 17 แนบมาให้ดูด้วยครับ)

 

3) เอกสาร 56-1 หน้า 18 เหมือนจะสรุปว่า “บริษัทติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ” จะเน้นไปที่การติดตามหนี้
ในขณะที่ “บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรัพย์” จะเน้นไปที่การฟ้องคดี
(ผมตัดภาพเอกสารหน้า 18 แนบมาให้ดูด้วยครับ)

จริงๆและ 2 แบบนี้ต่างกันอย่างไรครับ เพราะเท่าที่อ่านมา JMT ก็มีให้บริการฟ้องคดีเหมือนกันครับ.

 

4) บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด (ที่เป็นการร่วมค้า ระหว่าง J Asset Management กับ Kvision)
ก็ทำธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เหมือน JMT & J Asset Management เพียงแต่
สินทรัพย์ส่วนใหญ่ก็คือจะมาจาก KBANK ถูกไหมครับ

 

คำถามผม 4 ข้อ ถ้าผมเข้าใจอะไรไม่ถูกรบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะเพิ่มเติมด้วยนะครับ.

 

ขอบคุณครับ

1. ถูกต้องครับ

2. เอ ผมดูแล้วก็ไม่เห็นอะไรผิดปกตินะครับ บริษัททำ 2 ธุรกิจ คือ บริหารสินทรัพย์ กับติดตามหนี้ ก็ถูกแล้วนี่นา หน้า 16 บอกว่า "ธุรกิจของผู้ขาย" ก็หมายถึงคนที่ขายหนี้มาให้

3. ผมอ่านแล้วก็ปกตินะ คือเค้าเล่าว่าส่วนใหญ่คู่แข่งธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้สิน จะมาจากสำนักงานกฎหมายด้วย ก็เลยจะเน้นฟ้อง ในขณะที่ ธุรกิจหลักของติดตามหนี้สินของ jmt นั้น ไม่เน้นฟ้อง เน้นติดตามอย่างเดียวไง คำพูดมันอาจดูสับสนต้องอ่านหลายๆรอบช้าๆอ่ะ

4. ถูกต้องครับ

 


   
ReplyQuote
(@mr-lc-ucp)
Trusted Member
Joined: 1 year ago
Posts: 41
Topic starter  

@prapas-b88 ขอบคุณครับอาจารย์

ขอโทษด้วยครับ คำถามผมไม่เคลียร์ ขอชี้แจงคำถามข้อ 2 และ 3 ใหม่อีกทีนะครับ

 

ข้อ 2 คือ สินเชื่อบัตรเครดิต หน้า 16 (ไฮไลท์สีม่วง) ระบุว่าอยู่ใน บริษัทรับจ้างติดตามหนี้หรือบริษัทรับซื้อหนี้มาบริหาร

แต่หน้า 17 รูปภาพ (ในกล่องตรงกลาง) กลับระบุว่า สินเชื่อบัตรเครดิต อยู่ใน บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรพัย์ (ลูกศรชี้ลงมากล่องล่างสุดทางซ้าย)

เลยรู้สึกว่า ข้อมูลหน้า 16 กับ 17 มันไม่ตรงกันครับ 

จึงสอบถามเพื่อความแน่ใจว่า รูปภาพหน้า 17 ผิดหรือเปล่า หรือ ผมเข้าใจความหมายของรูปภาพผิดไปครับ.

ข้อ 3 คือ ผมพยายามแยกความแตกต่างระหว่าง "บริษัทติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ" กับ "บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรัพย์" อยู่ครับ
ที่จับประเด็นได้คือ บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรัพย์ จะซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ "ภาคธุรกิจ" มาดำเนินการ และ เน้นเรื่องการฟ้องคดี

ในขณะที่ บริษัทติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ก็มีการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาดำเนินการด้วยเหมือนกัน แต่เป็น หนี้ด้อยคุณภาพ "ภาคผู้บริโภค" และ เน้นเรื่องติตตามหนี้

 

สรุปว่า JMT เป็นบริษัทติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ เน้นเรื่องติตตามหนี้ แต่ก็ให้บริการฟ้องคดีด้วยเหมือนกัน
มีการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาดำเนินการเช่นกัน แต่ เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ "ภาคผู้บริโภค"

ผมเข้าใจถูกไหมครับ

 

ขอบคุณครับ.

 

รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะเรื่องการบันทึกบัญชี ที่ผมถามเพิ่มเติมด้วยนะครับ ... ตอนนี้กำลัง งง เลยครับ 😓 

บันทึกมาถึง cost แล้ว ยิ่ง งง หนักเลยครับ เดี๋ยวถามเพิ่มไปอีกนะครับ รออาจารย์แนะนำ part แรกกลับมากก่อนครับ 🙂  

 


   
ReplyQuote
(@prapas-b88)
Noble Member Admin
Joined: 3 years ago
Posts: 1496
 

Posted by: @mr-lc-ucp

@prapas-b88 ขอบคุณครับอาจารย์

ขอโทษด้วยครับ คำถามผมไม่เคลียร์ ขอชี้แจงคำถามข้อ 2 และ 3 ใหม่อีกทีนะครับ

 

ข้อ 2 คือ สินเชื่อบัตรเครดิต หน้า 16 (ไฮไลท์สีม่วง) ระบุว่าอยู่ใน บริษัทรับจ้างติดตามหนี้หรือบริษัทรับซื้อหนี้มาบริหาร

แต่หน้า 17 รูปภาพ (ในกล่องตรงกลาง) กลับระบุว่า สินเชื่อบัตรเครดิต อยู่ใน บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรพัย์ (ลูกศรชี้ลงมากล่องล่างสุดทางซ้าย)

เลยรู้สึกว่า ข้อมูลหน้า 16 กับ 17 มันไม่ตรงกันครับ 

จึงสอบถามเพื่อความแน่ใจว่า รูปภาพหน้า 17 ผิดหรือเปล่า หรือ ผมเข้าใจความหมายของรูปภาพผิดไปครับ.

ข้อ 3 คือ ผมพยายามแยกความแตกต่างระหว่าง "บริษัทติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ" กับ "บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรัพย์" อยู่ครับ
ที่จับประเด็นได้คือ บริษัทที่ปรึกษาและบริหารสินทรัพย์ จะซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ "ภาคธุรกิจ" มาดำเนินการ และ เน้นเรื่องการฟ้องคดี

ในขณะที่ บริษัทติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ก็มีการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาดำเนินการด้วยเหมือนกัน แต่เป็น หนี้ด้อยคุณภาพ "ภาคผู้บริโภค" และ เน้นเรื่องติตตามหนี้

 

สรุปว่า JMT เป็นบริษัทติดตามเร่งรัดหนี้และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ เน้นเรื่องติตตามหนี้ แต่ก็ให้บริการฟ้องคดีด้วยเหมือนกัน
มีการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาดำเนินการเช่นกัน แต่ เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ "ภาคผู้บริโภค"

ผมเข้าใจถูกไหมครับ

 

ขอบคุณครับ.

 

รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะเรื่องการบันทึกบัญชี ที่ผมถามเพิ่มเติมด้วยนะครับ ... ตอนนี้กำลัง งง เลยครับ 😓 

บันทึกมาถึง cost แล้ว ยิ่ง งง หนักเลยครับ เดี๋ยวถามเพิ่มไปอีกนะครับ รออาจารย์แนะนำ part แรกกลับมากก่อนครับ 🙂  

 

เข้าใจคำถามละ แต่น่าจะเข้าใจผิดนะครับ เดี๋ยวโทร.คุยกันดีกว่า น่าจะเคลียร์กว่า 😉

 


   
ReplyQuote
(@mr-lc-ucp)
Trusted Member
Joined: 1 year ago
Posts: 41
Topic starter  

@prapas-b88 เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณอาจารย์มากๆเลยครับ 🙂 😍


   
ReplyQuote
Share:
Protected by CleanTalk Anti-Spam